Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

ข้อมูลเบื้องต้นการเลือกโมดูลใช้งาน MELSEC iQ-R

Date : 16 April 2021 | Categories : Controller

PLC ของ Mitsubishi Electric สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติแบบโปรแกรม (PAC หรือ Programmable Automation Controller) สำหรับใช้ในระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมการทำงาน สถานการณ์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในไลน์การผลิต โดยซีรีส์ MELSEC iQ-R ได้มีการเปิดตัวในปี 2014 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมแห่งอนาคต ในการปฏิรูปการผลิตแบบใหม่อย่างแท้จริง โดยเป็นการสร้างระบบอัตโนมัติในยุคระบบการผลิต ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ระบบการควบคุมนี้ได้รับการออกแบบจากปัญหาพื้นฐานของการใช้งาน PLC รุ่นก่อนๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน


ตัวอย่างระบบ PLC

ตัวอย่างระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ยึดตามสายการผลิตครื่องดื่มที่จะแสดงถึงระบบอัตโนมัติด้านต่างๆ ตั้งแต่ CIP การบรรจุขวด การติดฉลาก ไปจนถึงการจัดเรียง และระบบการจัดเก็บ/การเรียกคืนอัตโนมติ (AS/RS) ที่มีการใช้ PLC ได้ในไลน์การผลิต ซึ่งเป็นการผลิตที่ต้องมีระบบอัตโนมัติในระดับสูง



ตัวอย่างส่วนประกอบโมดูลสำหรับระบบการจัดเรียง

- โมดูลแหล่งจ่ายไฟ (Power supply Module)
- โมดูล CPU
สำหรับดำเนินการควบคุมสัญญาณอินพุตดิจิทัล โดยจะถูกประมวลผลเป็นสัญญาณเอาท์พุตผ่านทางโมดูลเอาท์พุท
- โมดูลอินพุต
สำหรับรับสัญญาณดิจิทัลจากเซ็นเซอร์และส่งข้อมูลไปยังโมดูล CPU
- โมดูลเอาท์พุต
สำหรับรับคำสั่งจากโมดูล CPU และส่งสัญญาณเอาท์พุตดิจิทัลไปยังรางนำการจัดเรียง
- ฐาน (Base Unit)

การเลือกโมดูล ซีรีส์ MELSEC iQ-R

ประกอบด้วยโมดูลหลายประภทที่สามารถใช้สำหรับแอปพลิเคชันอัตโนมัติที่หลากหลาย ในตัวอย่างของระบบการจัดเรียง จะมีการใช้โมดูล I/O (อินพุตและเอาท์พุต) ดิจิทัลเป็นตัวกลางหลักส่งสัญญาณดิจิทัลไปยังภายนอก
การเลือกโมดูล I/O

การเลือกโมคูล I/O ที่เหมาะสม ต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
● ต้องใช้อุปกรณ์ I/O จำนวนเท่าใด (จำนวนจุดของ /O)
● แรงดันไฟฟ้าอินพุตและเอาท์พุต



ตัวอย่างระบบการจัดเรียงประกอบด้วย

● อุปกรณ์อินพุตหนึ่งชุด (พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์)
● อุปกรณ์เอาท์พุตสองชุด (รางนำการจัดเรียง)
● แรงตดันไฟฟ้าอินพุตเอาท์พุต 24 V DC

สามารถใช้งานโมดุลขาออกแบบซิงค์และแบบชอร์สได้โดยขึ้นอยู่กับระบบการเดินสายไฟที่ใช้งานอยู่ จากตัวอย่างนี้ เลือกโมดูลขาออกแบบซิงค์


การเลือกโมดูล CPU

ต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้เพื่อทำการเลือกโมคุล CPU ที่เหมาะสม
● จำนวนของจุด I/O ทั้งหมดที่ต้องการ
● ความจุหน่วยความจำโปรแกรม

โปรแกรมจะถูกจัดเก็บในโมดูล CPU ดังนั้นจึงควรพิจารณาโมดูล CPU ที่เพียงพอสำหรับขนาดของโปรแกรม โดยทั่วไปแล้วแอปพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ความจุของโปรแกรมขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถรองรับระบบควบคุมเพิ่มเติมในอนาคต


การเลือกฐาน (Base Unit)

Base Unit คือ ส่วนประกอบหลักของระบบและยึดโมดูลเข้าด้วยกัน รวมถึงทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านทางบัสของระบบ จำนวนโมดูลที่สามารถติดตั้งได้จะแตกต่างกันตามความจุหรือขนาดสล็อต Base Unit ในขณะนี้มีสล็อตให้เลือก 3 ขนาด คือ 5, 8 12 สล็อต

เมื่อมีการพิจารณาขนาดของระบบควบคุมและโมดูลที่กำหนด จะมีการเลือก Base Unit ที่เหมาะสมที่สามารถรองรับความจุสล็อต I/O ได้ เพื่อให้สามารถรองรับสล็อตเพิ่มเติมในอนาคต โดยผู้ใช้งานควรเลือกขนาดของ Base Unit ให้มากกว่าโมดูลที่จำเป็นต้องใช้


การเลือกโมดูลแหล่งจ่ายไฟ

การเลือกโมดูลแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสม ต้องมีการคำนวณกระแสไฟที่จำเป็นต้องใช้ใน Base Unit รวมทั้งโมดูลอื่นทั้งหมด เพื่อให้สามารถจ่ายไฟให้กับระบบควบคุมอย่างเพียงพอ

สามารถคำนวณกระแสไฟที่ใช้ได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้วิธีการ 2 วิธีต่อไปนี้
● "ระบบการเลือกรุ่น" ของ MELSEC iQ-R ซีรีส์ (Selection Tool)
● ผ่านทางซอฟต์แวร์ "GX Works3"


สำหรับตัวอย่างการจัดเรียง กระแสไฟฟ้ารวมที่ต้องการจากการใช้งานร่วมกันของ Base Unit โมดูล CPU โมดูลอินพุตและโมดูลเอาท์พุต คือ 1.5 A

How to select by myself?

Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) Co., Ltd. provides comprehensive supports on model selection that can be used anywhere, anytime.

Selection Tools
Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top