Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

(2/2) การใช้งานฟังก์ชัน System Recorder ในพีแอลซีรุ่น MELSEC iQ-R

Date : 14 May 2021 | Categories : PLC

การใช้งานระบบบันทึก (System Recorder) ใน MELSEC iQ-R ตอนที่ 2
อ่านตอนแรกได้ที่: การใช้งานฟังก์ชัน System Recorder ในพีแอลซีรุ่น MELSEC iQ-R (1/2)

2. การวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตที่ง่ายขึ้น (Simplified analysis)

ข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งระบบถูกแสดงในรูปคลื่นเป็นไทม์ไลน์ข้อมูลและฟีดวิดีโอ โดยจะแสดงตามลำดับเวลาเพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ สามารถระบุสาเหตุของข้อมูล ช่วยในการวิเคราะห์ Flow ของข้อมูล ทำให้สามารถเข้าใจถึงต้นตอของความล้มเหลวได้ง่ายขึ้น ด้วยการแสดงข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์ที่ล้มเหลวและอุปกรณ์ปกติ นอกจากนี้โครงสร้างของโปรแกรมช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น รองรับโปรแกรมที่มีโครงสร้างและ Label ของอุปกรณ์ ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น

2.1 Log marker function

วิเคราะห์สาเหตุได้เร็วขึ้นด้วยฟีดวิดีโอที่ซิงโครไนซ์ผ่านโปรแกรมและกราฟรูปคลื่น

1) การตั้งค่าเครื่องหมายบันทึกบนช่วงเวลาที่สำคัญ
สามารถเพิ่มลงในไทม์ไลน์ของฟีดวิดีโอหลักเพื่ออ้างอิงบันทึกในภายหลังหรือส่งต่อให้กับบุคลากรฝ่ายสนับสนุนอื่นๆ ทำให้หลายทีมสามารถวิเคราะห์ปัญหาของแอปพลิเคชันได้

2) การยืนยันฟีดวิดีโอด้วยข้อมูลที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดข้อผิดพลาด
โดยการซิงโครไนซ์กับโปรแกรม GX Works3 และ GX LogViewer รวมถึงเครื่องมือตรวจสอบวิดีโอที่ให้มุมมองการตรวจสอบที่เป็นจริงตรงกับกระบวนการ

3) การตั้งค่าทำได้ง่าย
การตั้งค่าอุปกรณ์ทริกเกอร์เพื่อเริ่มการบันทึกก่อน-หลังเหตุการณ์เป็นสิ่งจำเป็น แม้ไม่คำนึงถึงเป้าหมายของอุปกรณ์ช่วงการบันทึกก็ตาม

2.2 Offline monitoring

การเล่นข้อมูลโปรแกรมและกราฟรูปคลื่นแบบซิงโครไนซ์ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่องมือวิศวกรรม GX Works3 แล้วเรียกใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่จำเป็นทั้งหมด ผ่าน "seek bar" ช่วยให้สามารถสลับไทม์ไลน์ที่ซิงโครไนซ์ข้อมูลระหว่างการตรวจสอบโปรแกรม GX Works3 (การตรวจสอบวงจร) และ GX LogViewer (การแสดงรูปคลื่น) ได้ง่ายดาย


2.3 Data flow analysis function

1) สามารถกำกับอุปกรณ์ Label และข้อคิดเห็นในรูปแบบแผนผังได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าต่างแยก
2) แสดง Command Flow ของโปรแกรมที่ติดตามได้อย่างง่ายดาย โดยแสดงพร้อมชื่อคำสั่ง
3) รองรับการวิเคราะห์ภาษาโปรแกรมหลักได้หลากหลาย เช่น โปรแกรมแลดเดอร์, ภาพฟังก์ชันบล็อก (FBD), SFC (ภายใน ZOOM) และโปรแกรมภาษา ST

2.4 Troubleshooting using servo (axis) data

สามารถแก้ไขปัญหาข้อมูล Servo ได้โดยการเชื่อมต่อโมดูล Motion และโมดูล System Recorder เช่น การแจ้งเตือนการใช้งานเมื่อแรงบิดของ Servo ถึงขีดจำกัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าที่ผิดปกติ (จาก 0) เป็นต้น

2.5 Simplified analysis using panel computer

สามารถทำซ้ำข้อมูลได้หลายรายการบนคอมพิวเตอร์พาเนล เช่น MELIPC MI3000 (ระบบปฏิบัติการ Windows® ในตัว) เพื่อใช้ในการยืนยันข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นที่การผลิตที่มีปัญหา

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top