5 วิธีประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกับงานหลากหลายรูปแบบ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ ปัจจุบัน ระบบการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม ได้มีการปรับตัวด้วยการนำนวัตกรรมหุ่นยนต์เข้ามาประยุกต์ใช้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยจัดการกับปัญหในเรื่องของข้อจำกัดในการใช้แรงงานมนุษย์ กับขั้นตอนการผลิตภายในโรงงานได้อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร และเภสัชกรรม ที่มีเงื่อนไขอย่างเรื่องความปลอดภัยในการผลิตที่ค่อนข้างสูง ทำให้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมกลายเป็นโซลูชันทางออกที่ตอบโจทย์มากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจว่าจะสามารถนำหุ่นยนต์ประเภทนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านใดบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
1. งานประกอบชิ้นส่วน (Assembly)
งานบางอย่างในภาคการผลิตต้องมีความใส่ใจในรายละเอียดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานการประกอบชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง ซึ่งหลาย ๆ ครั้งความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ ก็ส่งผลให้เกิดความขัดข้อง หรือก่อให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรงกับผู้บริโภคปลายทาง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้งาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย พร้อมตอบโจทย์งานประกอบชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมแรงงานในการประกอบได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถติดตั้งกล้องและเซนเซอร์ช่วยควบคุมคุณภาพการประกอบชิ้นส่วนได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนการบันทึกภาพ เพื่อประมวลผลการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. งานจัดวางชิ้นงาน วัตถุบนถาด หรือ Stacker (Tray Handling)
ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานแบบซ้ำซากจำเจ ในส่วนของการจัดเรียงวัตถุลงบนถาด หรือ การยกพาเลทด้วยรถ Stacker โดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพราะสามารถรับน้ำหนักได้มาก ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างปลอดภัย พร้อมลดระยะเวลาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยความสามารถของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่สามารถช่วยจัดเรียงวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รับความนิยมอย่างมากกับการใช้ในโรงงานที่ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพราะมีส่วนช่วยในการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสายพานไปยังจุดพัก เพื่อเตรียมพร้อมให้พนักงานนำไปเข้าสู่กระบวนการในขั้นตอนถัดไปได้อย่างรวดเร็ว ลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายในระหว่างการขนย้าย พร้อมช่วยให้ขั้นตอนการผลิตเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
3. งานขัดเงา เจียร การบัดกรี (Processing)
ในขั้นตอนการเพิ่มคุณภาพและความประณีตบนพื้นผิวของสินค้า หากสามารถลดระยะเวลาให้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังได้คุณภาพที่สม่ำเสมอคงจะดีไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ การนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปประยุกต์ใช้ในงานเชื่อมและงานบัดกรี จึงได้รับความนิยมสูง เนื่องจากการใช้แรงงานมนุษย์ในงานประเภทนี้ มีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มากกว่า ด้วยข้อจำกัดทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อยล้า หรือตาพร่าจากการใช้เครื่องมือเป็นเวลานาน
ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่เสถียร ตลอดจนความแม่นยำของหุ่นยนต์ที่มีการติดตั้งเซนเซอร์และกล้องตรวจสอบคุณภาพ ส่งผลให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพในการผลิต การันตีความสามารถในการทำงานได้ยาวนาน โดยไม่ลดทอนคุณภาพอย่างแน่นอน
4. งานดูแลและควบคุมเครื่องจักร CNC (Machine Tending)
นอกเหนือจากงานหยิบจับ และควบคุมคุณภาพของวัตถุแล้ว หุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังมีความสามารถในการจัดการกับงานดูแลและควบคุมเครื่องจักรได้อย่างอัจฉริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องจักรที่ควบคุมเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) ในกระบวนการกัด กลึง และขึ้นรูปโลหะ
โดยจะให้หุ่นยนต์ทำหน้าที่ช่วยหยิบวัตถุที่ยังไม่ได้ผ่านการแปรรูปออกจากถาด สายพานจากนั้นลำเลียงไปในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดไว้ ก่อนจะนำมาวางในตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำของตัวเครื่อง หลังจากนั้นจึงจะทำการกลึงชิ้นงานออกจนเสร็จสิ้นกระบวนการ นอกจากนี้หุ่นยนต์หนึ่งตัวยังสามารถทำหน้าที่ดูแลเครื่องจักรได้หลาย ๆ เครื่องพร้อมกัน จึงช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเร่งผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ไม่ต้องเพิ่มเงินลงทุน เพื่อปรับขยายผังโรงงาน
5. งานบรรจุภัณฑ์และจัดเรียงพาเลท (Case Packing and Palletizing)
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต้องผ่านขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายขั้นตอน ก่อนจะส่งไปยังผู้ใช้ปลายทาง เพื่อความปลอดภัยระหว่างการขนส่ง ทั้งจากสิ่งปนเปื้อน ตลอดจนปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยจึงตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุม
เพราะไม่ว่าจะเป็นการบรรจุผงยา ฉีดของเหลว หรือสารต่าง ๆ ลงในเม็ดยา แคปซูล หรือการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มลงในบรรจุภัณฑ์ การใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องบรรจุอัตโนมัติ จะสามารถช่วยปรับปรุงความสม่ำเสมอของการผลิต อีกทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
นอกจากนี้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังสามารถช่วยลำเลียงบรรจุภัณฑ์ไปยังพาเลทได้อย่างปลอดภัย ลดการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ของพนักงานที่อาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของงาน เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานติดต่อกันได้อย่างไม่เหนื่อยล้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติงาน (ROBOT) ภายในโรงงาน เพื่อลดข้อผิดพลาด พร้อมเพิ่มผลประโยชน์และโอกาสร้างความสำเร็จในการแข่งขันทางธุรกิจได้ในระยะยาว อย่าลืมนึกถึง Mitsubishi Electric Factory Automation ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันสำหรับงานอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น
- ผลิตภัณฑ์โรบอทชนิด 6 แกน (Vertically-articulated) ที่ตอบโจทย์การทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย และสามารถใช้งานได้หลากหลายประเภท
- ผลิตภัณฑ์โรบอทชนิด 4 แกน (SCARA) ที่ตอบโจทย์ประเภทลักษณะงานในแนวระนาบ หรือลักษณะขึ้นลง โดยมีจุดเด่นเรื่องความแม่นยำสูง ทั้งยังทำงานได้อย่างรวดเร็ว
เรามีความพร้อมในการบริการทั้งก่อนและหลังการขาย โดยทีมวิศวกรที่ผ่านการฝึกอบรมโดยตรงจากญี่ปุ่น เพื่อช่วยคุณติดตั้งและใช้งานได้อย่างราบรื่น ลดอุปสรรค และควบคุมคุณภาพของสินค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อเราได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600