iQ Monozukuri CONVERTING - ควบคุมระบบเคลื่อนไหว คลาย หมุนกลับของลูกกลิ้งสายพานได้รวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน
ในสายพานการผลิตล้วนประกอบด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์มากมาย ซึ่งหนึ่งในการควบคุมที่สำคัญคือลูกกลิ้งสายพาน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของการผลิตและการติดฉลากบรรจุภัณฑ์ แต่ด้วยปัจจัยที่ยากลำบากของการควบคุม เนื่องจากพื้นที่การผลิตที่แตกต่างกันและความเฉพาะเจาะจงในการเคลื่อนไหวของของลูกกลิ้งแต่ละตัวที่ต้องมีความสอดคล้องกัน ทำให้เรื่องที่ดูเหมือนง่ายนี้กลายเป็นปัญหาอย่างมากในการผลิต
เนื่องจากเมื่อลูกกลิ้งสายพานเกิดการทำงานผิดพลาด ก็อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ ทำให้การผลิตล่าช้าออกไปในที่สุด
Mitsubishi Electric ได้ใช้ความเชี่ยวชาญและใส่ใจในทุกปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกอุตสาหกรรม จึงพัฒนาฟังก์ชันการควบคุมให้กับชุดโปรแกรมสำเร็จรูป iQ Monozukuri ในส่วนของฟังก์ชัน CONVERTING ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมสามารถควบคุมไลน์การผลิตได้อย่างอิสระตามความต้องการ
สนับสนุนการเคลื่อนไหวลูกกลิ้งขั้นสูง
iQ Monozukuri CONVERTING สามารถสนับสนุนการพัฒนาระบบการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว ด้วยการควบคุมการคลาย ย้อนกลับ เพิ่มความเร็ว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบการผลิต
■ ซอฟต์แวร์ประกอบด้วย ตัวอย่างข้อมูลโปรแกรมสำหรับหน้าจอ GOT ซึ่งสามารถควบคุมการย้อนกลับ คลาย ซึ่งเป็นฟังก์ชันพื้นฐานของการควบคุมลูกกลิ้งสายพานได้
■ ควบคุมแรงตึงได้อย่างง่ายดาย ครอบคลุมฟังก์ชันที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการควบคุมลูกกลิ้ง ซึ่งสามารถออกแบบได้เป็นจำนวนมาก รองรับกับไลน์การผลิตขนาดใหญ่ได้
■ Library Function สามารถลดความซับซ้อนในการเขียนโปรแกรมลงได้ โดยการแบ่งการทำงานออกเป็นช่วงๆ เพื่อให้สามารถเพิ่มหรือแก้ไขฟังก์ชันได้อย่างง่ายดาย
■ ฟังก์ชันสำหรับปรับควบคุมค่าความตึงโดยอัตโนมัติ ช่วยควบคุมแรงดึงของเครื่องจักรได้ง่ายและสะดวกขึ้น
iQ Monozukuri CONVERTING กับผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric
การกำหนดค่าระบบด้วยโมดูล Simple Motion
หรือการกำหนดค่าระบบโดยไม่มีโมดูล Simple Motion
ความสามารถของ iQ Monozukuri CONVERTING เป็นตัวช่วยให้ระบบไลน์การผลิตในการควบคุมลูกกลิ้งได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบของการผลิตในอุตสาหกรรมเป็นไปได้แบบอัตโนมัติและไร้ซึ่งข้อผิดพลาด โดย Mitsubishi Electric ได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์การใช้งานมากมายที่จะทำให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ยุค 4.0 ได้