Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

ฟังก์ชัน Smart Work Navigator ลดข้อผิดพลาดในการหยิบชิ้นส่วน ที่มากับ iQ Monozukuri

Date : 09 December 2020 | Categories :


ฟังก์ชัน Smart Work Navigator ลดความล่าช้าในการผลิต ที่มาใน iQ Monozukuri


การทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตเต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานในพื้นที่การทำงาน จึงต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน การตรวจสอบตำแหน่งชิ้นส่วนขนาดเล็ก สำหรับการติดตั้งบนชิ้นงานในพื้นที่การผลิต ปัญหาประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบและขั้นตอนเลือกชิ้นส่วน หรือปัญหาการค้นหาชิ้นส่วน ซึ่งปัญหาทั้งหมดล้วนทำให้ขั้นตอนการผลิตช้าลง

ภายในแอปพลิเคชันการทำงานอัตโนมัติ iQ Monozukuri จาก Mitsubishi Electric ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาในพื้นที่การผลิตจริง ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถติดตั้ง ขยาย ใช้งาน และจัดการระบบการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังก์ชัน Smart Work Navigator เป็นซอฟต์แวร์อีกตัวที่อยู่ใน iQ Monozukuri ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ โดยการจัดการการใช้ชิ้นส่วนแบบดิจิทัล ช่วยสนับสนุนงานประกอบ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงและวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม



คุณสมบัติการทำงานของฟังก์ชัน Smart Work Navigator

รองรับทุกขั้นตอน ตั้งแต่การติดตั้ง การใช้งาน การวิเคราะห์ และการปรับปรุงในพื้นที่การผลิต เพื่อดำเนินการในขั้นตอบการหยิบชิ้นส่วนหรือขั้นตอนการประกอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

■ การติดตั้ง และออกแบบระบบตั้งแต่เริ่มต้นที่มีความง่ายดาย
สามารถจัดการไฟล์โครงการ (ข้อมูลหน้าจอและโปรแกรมควบคุม) และ SWN Data Configurator ที่รวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ ด้วยการเขียนลงใน GOT และส่งไปยัง PLC สำหรับสร้างไฟล์ข้อกำหนดและสร้างแผ่นคำแนะนำในการทำงาน

■ การกำหนดค่าระบบที่ยืดหยุ่น
สามารถเลือกอุปกรณ์ได้ตามขนาดหรือการใช้งานในพื้นที่การผลิต



■ การทำงานและจัดการได้อย่างง่ายดายด้วย "SWN Data Configurator"
SWN Data Configurator สามารถสร้างหน้าคำแนะนำการทำงานบนพื้นที่การผลิตได้ง่ายๆ โดยการลากและวางส่วนประกอบของระบบและส่วนประกอบของงาน ทำให้อุตสาหกรรถปรับแต่งความแตกต่างหรือขั้นตอนเฉพาะส่วนได้อย่างง่ายดาย



■ ทำงานร่วมกับไฟสัญญาณในพื้นที่การจัดเก็บหรือคัดแยกชิ้นส่วน
ซอฟต์แวรสามารถช่วยนำทางการแสดงผลไปยังอุปกรณ์ เพื่อระบุรายละเอียดการทำงานและขั้นตอนที่อยู่ในพื้นที่การผลิตได้รวดเร็วขึ้น



- ขั้นตอนการหยิบชิ้นส่วนอุปกรณ์
1. ไฟสัญญาณหลักตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์ เพื่อแจ้งเตือนชิ้นส่วนที่เกิดการขาดแคลนได้
2. ประตูเปิด-ปิดบนชั้นวางอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการจ่ายชิ้นส่วนที่ผิดพลาด
3. ไฟสัญญาณแยกส่วนช่องอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ลดความผิดพลาดในการหยิบชิ้นส่วน และตัดสินใจหยิบได้รวดเร็วขึ้น



- ขั้นตอนการประกอบผลิตภัณฑ์
1. อุปกรณ์แสดงผล HMIs ช่วยให้ผู้เริ่มต้นทำงานและการตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น
2. ไฟแสดงสถานะไขควงไฟฟ้า ช่วยประหยัดเวลาในการเลือกเครื่องมือ
3. ไฟแสดงสถานะบนชั้นวางชิ้นส่วนเป้าหมาย ช่วยให้ผู้เริ่มต้นเลือกชิ้นส่วนได้ดีขึ้น
4. การควบคุมแรงบิดแบบเรียลไทม์ โดยมีระบบป้องกันผลิตภัณฑ์เสียหายและการตรวจสอบแรงบิดในการขันก่อนการทำงาน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้สูงขึ้น (จำเป็นต้องสร้างโปรแกรมการสื่อสารระหว่างไขควงไฟฟ้าที่มีเซ็นเซอร์แรงบิด/ตัวตรวจสอบแรงบิดในตัวและ PLC)

■ เก็บรวบรวมบันทึกการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
เครื่องมือ BI บันทึกการทำงานจะแสดงภาพตามวัตถุประสงค์ของอุตสาหกรรมผู้ใช้งาน เช่น แสดงหน้าจอของเครื่องมือ BI ไว้ที่ด้านล่างของซอฟต์แวร์ เป็นต้น
- กราฟรอบเวลาเฉลี่ย
กราฟนี้แสดงเวลาทำงานโดยเฉลี่ยทั้งระบบ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จงาน และเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานของแต่ละรอบตารางงานในแต่ละวัน โดยสามารถระบุเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่แบบเจาะจงที่เกินจากเวลามาตรฐาน และรอบการทำงานเฉพาะที่เกินจากกำหนดที่วางไว้ได้อีกด้วย



- กราฟอัตราการเกิดสัญญาณเตือน
กราฟนี้แสดงอัตราการเกิดการแจ้งเตือนของแต่ละวัน ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถหาสาเหตุการแจ้งเตือนได้ง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



- กราฟสถานะการแจ้งเตือนสต็อก
กราฟด้านบนจะแสดงจำนวนชิ้นส่วนและเกณฑ์ สำหรับการแจ้งเตือนชิ้นส่วนคงคลังบนชั้นวาง โดยกราฟด้านล่างจะแสดงรายละเอียดชิ้นส่วนทั้งหมดจากช่วงเวลาที่เลือกจากกราฟด้านบน



- รายการบันทึกการทำงาน
แสดงข้อมูลบันทึกการทำงานของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่ได้แสดงในกราฟ



■ การตรวจสอบสาเหตุของปัญหาและดำเนินการตามแผนปรับปรุง

ซอฟต์แวร์สามารถระบุรายการงานที่มักจะเป็นปัญหา เช่น "รายการงานที่มักจะล้มเหลว" และ "รายการงานที่ต้องใช้เวลา" จากพื้นฐานของข้อมูลที่แสดงภาพด้วยเครื่องมือ BI ซึ่งช่วยในการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานต่างๆ ได้ เช่น การฝึกอบรมพนักงานใหม่ หรือการแก้ไขกระบวนการทำงาน

- กรณีที่ 1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกินเวลามาตรฐาน ซอฟต์แวร์สามารถจัดการแผนปรับปรุงพัฒนาทักษะของพนักงาน ด้วยการฝึกอบรมซ้ำได้
- กรณีที่ 2 รายการขั้นตอนการทำงานเฉพาะที่ใช้เวลานานกว่าที่วางแผนไว้ ซอฟต์แวร์สามารถจัดการแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการทบทวนเอกสารคำแนะนำในการทำงานใหม่อีกครั้ง
- กรณีที่ 3 เวลาในการประกอบแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์สามารถปรับปรุงปรับสมดุลรายการงานโดยการสร้างและใช้ส่วนควบเฉพาะ

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top