Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

(1/2) การใช้งานฟังก์ชัน System Recorder ในพีแอลซีรุ่น MELSEC iQ-R

Date : 13 May 2021 | Categories : PLC

การใช้งานระบบบันทึก (System Recorder) ใน MELSEC iQ-R ตอนที่ 1

ระบบบันทึกเป็นโซลูชันการตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และช่วยลดเวลาการหยุดเครื่องจักรได้ ทำให้อุตสาหกรรมเกิดความมั่นใจในการผลิตอย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ สามารถแบ่งฟังก์ชันการทำงานเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. การบันทึกข้อมูลภาพรวมของระบบการผลิต (System-wide recording)

การบันทึกที่ครอบคลุมช่วยให้การวิเคราะห์หาสาเหตุได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่การระบุสาเหตุข้อผิดพลาดผ่านการบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆอย่างครอบคลุม พร้อมกับฟีดวิดีโอแบบเรียลไทม์ ช่วยลดความจำเป็นในการทดสอบซ้ำซ้อน ช่วยตรวจสอบความผิดปกติของทั้งระบบระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมและระบบไดร์ฟ พร้อมกับการปฏิบัติงานในพื้นที่การผลิตที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งระบบ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันระบบการบันทึกระยะยาวและการบันทึกข้อผิดพลาดที่อยู่นอกเหนือจากการปฏิบัติงานภายในระบบการผลิตอีกด้วย


1.1 การบันทึก Control data
■ การบันทึกอุปกรณ์ทุกการสแกน

1) การบันทึกข้อมูลอุปกรณ์และฉลาก (Label) ทั้งหมด
โมดูล System Recorder ในซีรีส์ MELSEC iQ-R จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากคอนโทรลเลอร์ด้วยการสแกนทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ที่เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งช่วยให้หาสาเหตุและระบุข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการตั้งค่าการบันทึกอุปกรณ์และ Label เฉพาะ ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลจากอุปกรณ์ได้ง่ายและมีความปลอดภัย



2) ส่งผลกระทบต่อเวลาในการสแกน CPU น้อยที่สุด
โมดูล System Recorder ได้รับการออกแบบสำหรับการบันทึกข้อมูลของอุปกรณ์และ Label ก่อน-หลังทริกเกอร์เกิดขึ้น ทำให้ผลกระทบต่อเวลาในการสแกน CPU น้อยลง เนื่องจากโหลดในการดำเนินการแยกจากกัน ฟังก์ชันนี้ทำให้มั่นใจว่าการบันทึกข้อมูบในระบบควบคุมมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

3) การตั้งค่าทำได้ง่าย
การตั้งค่าอุปกรณ์ทริกเกอร์เพื่อเริ่มการบันทึกก่อน-หลังเหตุการณ์เป็นสิ่งจำเป็น แม้ไม่คำนึงถึงเป้าหมายของอุปกรณ์ช่วงการบันทึกก็ตาม

■ ฉลาก (Label) และฟังก์ชันบล็อก (Function Block)

สนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้างช่วยให้สามารถบันทึกไม่เพียงแต่อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึง Label ด้วย สิ่งนี้ช่วยขจัดความกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อุปกรณ์ทางกายภาพและการกำหนดค่าระบบระบุจุดกำเนิดข้อผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย

■ ข้อมูลอุปกรณ์เครือข่าย CC-Link IE TSN พร้อมการประทับเวลา (Timestamp)

เครื่องจักรการผลิตมีการติดตั้งส่วนต่างๆ ประกอบตัวควบคุม Servo หุ่นยนต์ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ระยะไกล ด้วยการใช้งานร่วมกับเครือข่าย CC-Link IE TSN สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการระบุสาเหตุข้อผิดพลาดระหว่างอุปกรณ์บนเครือข่าย (ข้อมูลอุปกรณ์และ Label) ด้วยการทำซ้ำหรือเล่นตามลำดับโดยการประทับเวลา (Time stamp) ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและตรวจสอบสถานการณ์ของอุปกรณ์เหล่านี้ทั่วทั้งเครือข่าย

■ รวบรวมข้อมูลจากแกน Servo แบบเรียลไทม์

1) สามารถรวบรวมข้อมูลการเคลื่อนไหวของ Servo จากโมดูล Motion ได้และจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดแม้ว่าจะใช้ความเร็วสูง ข้อมูลจะถูกรวบรวมโดยใช้การประทับเวลา (Time stamp) เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าใจข้อมูลตำแหน่งได้โดยละเอียด

2) รวบรวมข้อมูล Motion อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้โปรแกรม ข้อมูลความเร็ว แรงบิด และตำแหน่ง จะถูกรวบรวมโดยอัตโนมัติระหว่าง Servo Amplifier ซีรีส์ MELSERVO-J5 และโมดูล Motion ในซีรีส์ MELSEC iQ-R โดยไม่ต้องตั้งค่าพารามิเตอร์เพิ่มเติม รวมถึงข้อมูลที่ประทับเวลาไว้จะถูกบันทึกไว้ใน SD Card ของโมดูล Motion


3) การแก้ไขปัญหาโดยใช้ข้อมูลระบบทั้งหมด ทำได้ง่ายขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูลแกน Servo ทั้งระบบ เมื่ออุปกรณ์หยุดทำงานจาก Overload alarm (ในแกน 2) สามารถตรวจสอบสาเหตุได้ในข้อมูล (แกน 1) ซึ่งทำให้สามารถเห็นข้อผิดพลาดจากแรงบิดย้อนกลับในการตั้งค่าพารามิเตอร์ (แกน 1)

■ บันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติไปยังเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมต่อ

ข้อมูลสามารถจัดเก็บไว้ใน SD Card ของโมดูล System Recorder และเครือข่ายข้อมูล เช่น NAS หรือ คอมพิวเตอร์ โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการบันทึกลงใน SD Card และช่วยให้ง่ายต่อการใช้งานไฟล์บันทึกไปยังบุคลากรต่างๆ ภายในอุตสาหกรรม

1.2 การบันทึก Event history
■ บันทึกเหตุการณ์การทำงาน

บางครั้งข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่าข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกอย่างกะทันหันหรือเกิดจากความผิดพลาดกับขั้นตอนของผู้ปฏิบัติงาน การบันทึกการทำงานของอุปกรณ์และ Label เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสถานะโดยเฉพาะได้อย่างแม่นยำ


■ บันทึกการทำงานและประวัติการแจ้งเตือน

1) ระบุสาเหตุข้อผิดพลาดจากบันทึกการทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้งการตรวจสอบและระบุบันทึกของผู้ปฏิบัติงานที่ง่ายดาย ผ่าน SD Card หรือ USB จาก GOT (HMI) โดยตั้งค่าได้ใน GOT (HMI) หรือ MELIPC MI3000 ในพื้นที่การผลิต



2) การบันทึกประวัติการเตือนภัยของระบบ ข้อผิดพลาดของระบบที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้ใน GOT (HMI) ที่อยู่ในพื้นที่การผลิต โดยสามารถส่งสัญญาณเตือนพร้อมบันทึกโดยละเอียด พร้อมแสดงหมายเลขสเตชันที่ช่วยให้การทำงานในเครือข่ายขนาดใหญ่ง่ายดายมากขึ้น

1.3 การบันทึก Camera images
■ เครือข่ายกล้องที่พร้อมใช้งาน

1) เลือกขนาดเครือข่ายกล้องตามการใช้งาน
ฟีดวิดีโอมีประโยชน์สำหรับการแสดงกระบวนการทำงานจริง ทำให้สามารถระบุข้อผิดพลาดเฉพาะหรือปัญหาของกระบวนการได้อย่างรวดเร็ว โดยการติดตั้งกล้องรอบๆ อุปกรณ์ โดยซีรีส์ MELSEC iQ-R รองรับการสนับสนุนเครือข่ายกล้องที่มีฟังก์ชันให้เลือกมากมาย เช่น การปรับความเร็วของกระบวนการและสภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ ความชื้น และพื้นที่ติดตั้ง)


2) ขยายภาพด้วยการซูมออปติคอล
การซูมภาพจากกล้องด้วยออปติคอลช่วยให้ภาพมีรายละเอียดมากขึ้น เมื่อภาพที่บันทึกไม่ชัดเจนเนื่องจากมีความละเอียดต่ำ ทำให้สามารถติดตั้งกล้องได้ในระยะห่างจากกระบวนการผลิตและซูมเข้าไปยังพื้นที่เฉพาะ

3) บันทึกระยะเวลานาน
การบันทึกฟีดวิดีโอมักใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ System recorder ใน MELSEC iQ-R สามารถจัดเก็บฟีดวิดีโอโดยใช้ตัวแปลงสัญญาณ h.264 บีบอัดข้อมูลทำให้การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตั้งค่าได้ที่ "GX VideoViewer" ได้ทันที

4) ใช้ที่จัดเก็บข้อมูลภายนอก เช่น NAS หรือคอมพิวเตอร์
พื้นที่จัดเก็บเครือข่าย เช่น NAS หรือคอมพิวเตอร์สามารถใช้เป็นที่จัดเก็บภาพจากกล้องบนพื้นที่การผลิตได้



อ่านตอนถัดไป: การใช้งานฟังก์ชัน System Recorder ในพีแอลซีรุ่น MELSEC iQ-R (2/2)
Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top