Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

e-F@ctory แนวคิดการผลิตยุคใหม่ สู่อนาคตอุตสาหกรรม 4.0

Date : 30 May 2022 | Categories : e-F@ctory



e-F@ctory แนวคิดการผลิตยุคใหม่ สู่อนาคตอุตสาหกรรม 4.0


ในยุคที่การแข่งขันสูงและเกิดเทรนด์ใหม่ๆ มากมาย ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตมีความท้าทายหลายด้าน ทั้งอุปสรรคและความต้องการที่หลากหลาย รวมถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิตที่รวดเร็ว ทำให้หลายๆ อุตสาหกรรมต้องการพัฒนากระบวนการผลิตของตัวเองได้ทันกับการแข่งขันและความต้องการของตลาด ตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรม 1.0 ในอดีต มาจนถึงอุตสาหกรรม 4.0 ในปัจจุบันที่มีการรวบรวมเทคโนโลยีมากมายทั่วโลกมาไว้ในกระบวนการผลิต


เทคโนโลยีการผลิตอาจดูเป็นเหมือนเรื่องไกลตัว แต่เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้จากส่วนเล็กๆ ภายในกระบวนการผลิต เพื่อให้โรงงานสามารถลดระยะเวลาการผลิต หรือเพิ่มคุณภาพการผลิตได้เช่นเดียวกันกับ e-F@ctory แนวคิดยุคใหม่ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมหรือโรงงานสามารถเริ่มต้น พัฒนา และต่อยอดให้การผลิตเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนได้




e-F@ctory คืออะไร? ทำไมจึงช่วยพัฒนาระบบการผลิตได้?


e-F@ctory คือ โซลูชันที่มีแนวคิดเพื่อช่วยเริ่มต้นสร้างและพัฒนาระบบการผลิตให้เติบโตอย่างรอบด้าน โดยการผสานรวมระบบการผลิต และ IT เข้าด้วยกัน ให้มีการเชื่อมต่อของข้อมูลแบบ Real-time ในทุกระดับ นำสู่การพัฒนาประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึง Supply Chain


ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการ เช่น นำเอาอุปกรณ์ sensor ที่ติดตั้งควบรวมกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ robot มาเชื่อมต่อกับส่วนข้อมูลแล้วส่งเข้าสู่ระบบ IT โดยตรง เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมของโรงงานได้ทั้งหมด หรือ Visualization ทำให้ผู้ประกอบการเห็นจุดต่างๆ ที่จะสามารถพัฒนาโรงงานการผลิตได้อย่างชัดเจนมากขึ้น




มองเห็นทุกรายละเอียด ในทุกกระบวนการผลิต


โรงงานส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการไลน์การผลิต ทั้งการคำนวณการสต็อกวัตถุดิบการเดินเครื่องไลน์การผลิต การเก็บสินค้าคงคลังเพื่อให้เพียงพอและพร้อมจะจัดส่งแก่ลูกค้า รวมถึงปัญหาความสูญเสียในระบบการผลิตทั้งจาก Human Error และการเขียนโปรแกรมที่ผิดพลาด ซึ่ง e-F@ctory จะกำจัดข้อผิดพลาดทั้งหมดนี้ได้


เพราะฉะนั้น การมองเห็นจะสร้างความได้เปรียบและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการที่นำ e-F@ctory Concept มาประยุกต์ใช้ในการผลิต โดยจะทำให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการผลิตเข้ากับโมดูลอื่นๆ ทางธุรกิจ เช่น การขาย การตลาด การจัดเตรียมจัดซื้อวัตถุดิบ และการจัดส่งสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจแก่องค์กรได้

ยิ่งไปกว่านั้น e-F@ctory ยังมีความยืดหยุ่นสามารถนำไปประยุกต์กับโรงงานแต่ละรูปแบบ ทำให้มี Error ต่ำ มีความแม่นยำมากขึ้น มีความคลาดเคลื่อนน้อยลง และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรข้อมูล บุคคล วัตถุดิบ และพลังงาน


เชื่อมต่อทุก Layer อย่างไร้รอยต่อ


ถ้าสามารถมองเห็นโรงงานทุกรายละเอียดได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ ฉะนั้นจึงได้เกิด e-F@ctory concept ขึ้นมา จะประกอบไปด้วย 3 layer ได้แก่


1. Layer ระดับ Shop floor (สีเขียว) มองเห็นทุกอุปกรณ์ที่อยู่ในไลน์การผลิต เช่น Sensor, Drive, PLC, Robot, Energy serving เป็นต้น โดยเฉพาะข้อมูลจากอุปกณ์เหล่านี้ที่จะถูกส่งต่อไปยังระดับ edge computing หรือ IT
2. Layer ระดับ Edge computing (สีส้ม) มองเห็นการทำงานระหว่าง FA กับ IT และผสมผสานการทำงานผ่านเทคโนโลยี Edge Computing ซึ่งจะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลการผลิตจากอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังระบบ IT ได้โดยตรง
3. Layer ระดับ IT (สีฟ้า) มองเห็นงานด้านการผลิต การดำเนินงาน และการวางแผน ผ่าน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ

การเชื่อมต่อภายในอุตสาหกรรม ทุก Layer สามารถเชื่อมให้ถึงกันได้ตามแนวคิด “Connect Everything” ซึ่งทำให้ทุกส่วนของโรงงานเชื่อมต่อกัน เพื่อนำ Data เหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับปรุงโรงงานได้อย่างรอบด้าน โดยที่มีความสอดคล้องกับการทำงานแบบเฉพาะทางของประเภทอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบ ตั้งแต่การผลิต การวิเคราะห์ และการจัดการ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ Mitsubishi Electric ได้รวมกลุ่มพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ร่วมกับเหล่าพันธมิตร ภายใต้โครงการ e-F@ctory Alliance ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำงานร่วมกันในกลุ่ม โดยมีการแบ่งปันเทคโนโลยี และทดสอบระบบ ก่อนนำเสนอลูกค้า


ต่อไปเราจะพูดถึงโครงการ e-F@ctory Alliance ในบทความต่อไป ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงที่จะนำโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่การผลิตที่สมบูรณ์แบบได้อย่างราบรื่น โดยรวมอยู่ใน Layer การผลิตของ e-F@ctory ในทุกระดับชั้น




ตัวอย่างของการมองเห็นผ่าน e-F@ctory


Mitsubishi Electric (Nagoya Works) โรงงานที่มีการทำงานแบบ e-F@ctory อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งได้นำแนวคิด e-F@actory มาช่วยในการปรับปรุงการทำงานด้านต่างๆ เช่น ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การประหยัดพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยของเครื่องจักรและสร้างความปลอดภัยของระบบ รวมถึงลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ทำให้โรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


1. แนวคิด e-F@ctory ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยทำให้การจัดการการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูง ระบบประหยัดพลังงานมีความเสถียร และระบบสนับสนุนการทำงานมีศักยภาพมากขึ้น ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานลดลง 50% ลดเวลาในการสอนพนักงานใหม่ได้ถึง 65% ลดค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานลง 30% เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 30%


2. แนวคิด e-F@ctory สามารถนำข้อมูลที่ได้มากประยุกต์ใช้ในด้านปรับปรุงคุณภาพการผลิต ลดเวลาในการรอคอยสินค้า 50% ลดเวลาเดินเครื่อง 40% ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานลดลง 50% ลดเวลาในการสร้างระบบได้ถึง 65% ลดกรอบเวลาผลิต 50%


3. แนวคิด e-F@ctory กับการประยุกต์ใช้ AI Robot ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 30% ลดเวลาการทำงานของคนงานลง 55% ลดพื้นที่การติดตั้งเครื่องจักรได้มากถึง 85% เพิ่มอัตราการเดินเครื่อง 60%


e-F@ctory จึงเป็นแนวคิดที่สำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมไทยที่จะก้าวสู่ยุค 4.0 ทั้งโรงงานที่ต้องการเริ่มต้นสร้างระบบ Automation หรือพัฒนาต่อยอดระบบการผลิตให้ตอบสนองต่อการแข่งขันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ‘การมองเห็นได้’ หรือ Visibility ของ Mitsubishi Electric จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นต้นทุน อนาคต ค่าใช้จ่าย หรือกระทั่งคาดการณ์กำไรได้ล่วงหน้า ที่จะทำให้อุตสาหกรรมสามารถบริหารจัดการต้นทุนและทรัพยากรให้กลายเป็นความได้เปรียบได้อย่างยั่งยืน

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top