Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

SMKL กุญแจประเมินอุตสาหกรรม พลิกการผลิตสู่ระบบอัจฉริยะ

Date : 28 June 2022 | Categories : e-F@ctory



SMKL กุญแจประเมินอุตสาหกรรม พลิกการผลิตสู่ระบบอัจฉริยะ


ความต้องการที่ทุกโรงงานส่วนใหญ่คาดหวังคือการเพิ่มจำนวนผลผลิตให้ได้มากขึ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนและกำไรให้มากขึ้นด้วย แต่ก็มักจะพบกับอุปสรรคสำคัญที่ทุกโรงงานต้องเจอเช่นเดียวกันคือเกิดข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตและกำไรได้นั่นเอง อีกทั้งการขยับขยายเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตก็ยังยากต่อการค้นหาโซลูชันที่ถูกต้อง


การค้นหาปัญหาและหนทางในการแก้ไขจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแนวทางที่มีความทันสมัยกับยุคการผลิตในปัจจุบัน เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่มักมีวิธีการประเมินโรงงานด้วยวิธีการแบบเดิม ที่ประเมินเป็นประจำทุกๆ ปี แนวคิดใหม่ๆ ในการประเมินจึงเริ่มมีการคิดค้นเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ได้กับยุคการผลิต 4.0 รวมถึงการประเมินโรงงานที่ต้องการพัฒนาโรงงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น


Mitsubishi Electric จึงออกแบบเครื่องมือในการประเมินโรงงานอุตสาหกรรมให้สามารถตอบโจทย์กับยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่ง มีการผลิตที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การทำงานแบบ IoT หรือ Automation รวมถึงสามารถพัฒนาโรงงานสู่การทำงานแบบ e-F@ctory แห่งอนาคตได้ นั่นคือแนวคิด SMKL


จากรากฐาน Kaizen สู่วิธีการ SMKL


หลายๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยแนวคิด SMKL ก็มีรากความคิดมาจากแนวคิดไคเซ็นนี้ แต่ SMKL จะมีหัวใจสำคัญที่แตกต่างจาก Kaizen โดยที่จะมุ่งเน้นไปสู่การทำให้เห็นปัญหาที่แท้จริงในมุมมองภาพรวม และภาพรายละเอียดของโรงงานมากยิ่งขึ้น


SMKL ของ Mitsubishi Electric ซึ่งย่อมาจาก Smart Manufacturing Kaizen Level (SMKL) คือ ดัชนีการประเมินระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในโรงงานซึ่งสามารถช่วยในการตัดสินใจลงทุนของผู้บริหารได้ โดยสามารถแสดงวัตถุประสงค์ ทิศทางการพัฒนาและผลที่จะได้รับจากการลงทุนในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้สามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงงานของคุณได้ช่วยในการระบุปัญหาต่างๆ ช่วยปรับปรุงพัฒนาและช่วยให้คุณสามารถเพิ่มผลกำไรได้อย่างเต็มที่


พูดให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ SMKL เป็นเสมือนวิธีการในการประเมินที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มแนวคิด e-F@ctory ของ Mitsubishi Electric ให้โรงงานสามารถรู้จุดยืนของปัญหาและตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงงานได้ง่ายดายขึ้นนั่นเอง


การใช้ SMKL ในระบบการผลิตยังจะสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและรายได้ด้วยการเน้นผลลัพธ์ ROI ที่ชัดเจนและยั่งยืน โดย SMKL สามารถประเมินระดับการผลิตได้เป็นสองมิติ คือ Maturity Level และ Management level




Maturity Level ตัวแปรความสามารถในการจัดการและใช้ข้อมูล


ความสามารถในการจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูล (ระดับความสมบูรณ์ : Maturity Level) คือ ระดับความสมบูรณ์ของการใช้งานข้อมูลระดับสภาวะการผลิต ซึ่งแสดงถึงระดับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยแสดงในแกนแนวตั้ง 4 ระดับ ดังนี้


Level A : Collect คือ “การรวบรวมข้อมูล” Level B : Visualize คือ “การทำให้มองเห็น” Level C : Analyze คือ “การวิเคราะห์” Level D : Optimize คือ “การเพิ่มประสิทธิภาพ”




Management Level ระดับสิ่งที่ต้องจัดการในโรงงาน


ระดับของสิ่งที่ต้องจัดการในโรงงาน (ระดับการจัดการ : Management Level) คือ ระดับบริหารจัดการ ระบบจะแสดงผลข้อมูลเชิงลึกหรือรายละเอียดให้เห็นบนแกนแนวนอนโดยมี 4 ระดับ ดังนี้


Level 1 : Worker คือ “ผู้ปฏิบัติงาน” Level 2 : Workplace คือ “สถานที่ปฏิบัติงาน” Level 3 : Factory คือ “โรงงาน” Level 4 : Supply Chain คือ “ห่วงโซ่อุปทาน”



4 ข้อดี SMKL


1. เริ่มต้นการพัฒนาสู่ “ความเป็นอัจฉริยะ” จากขั้นตอนที่เหมาะสมที่สุด ตามระดับในปัจจุบันและเป้าหมายของโรงงานแต่ละแห่ง 2. หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้สามารถสร้าง “ความเป็นอัจฉริยะ” ได้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม 3. คำนวณ ROI ในแต่ละขั้นตอนได้ นำไปสู่การตัดสินใจเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน 4. ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพได้ในทุกระดับขั้น ตั้งแต่โรงงานไปจนถึงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและผลกำไร (แก้ไขปัญหาด้านการจัดการที่หลากหลาย)




ตัวอย่างการใช้วิธีประเมิน SMKL สำหรับลดต้นทุนการผลิต


โรงงานแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นมีปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยมีการใช้พลังงานในการผลิตที่สูงเกินความจำเป็น แต่โรงงานไม่สามารถระบุขั้นตอนการผลิตที่มีการใช้พลังงานสูงในไลน์การผลิตได้ จึงมีการทำการประเมินการวัดพลังงานที่ใช้แต่ละส่วนอย่างละเอียด แล้วแสดงผลเป็นกราฟผ่านแดชบอร์ด จากนั้นใช้วิธีประเมิน SMKL ในการวิเคราะห์ พร้อมกับประเมินความต้องการในการจัดการจุดที่ให้ใช้พลังงานน้อยลง จนท้ายสุดค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ก็คุ้มค่าการลงทุนในที่สุด


ผลลัพธ์การใช้ SMKL


• ประหยัดค่าไฟได้ 800,000 เยนต่อปี • ใช้เงินลงทุน 2,000,000 เยน และคืนทุนได้ภายใน 30 เดือน


อย่างไรก็ตาม หัวใจหลักของ SMKL คือความเข้าใจในภาพรวมของการจัดการและการมีส่วนร่วมของพนักงานในสายการผลิต นั่นคือ Human Knowledge และส่วนในด้าน Machine Automation, Digital Engineering ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ Mitsubishi Electric มีพันธมิตร e-F@ctory ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์และหาโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า นอกจากนั้น SMKL ก็จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้พันธมิตร e-F@ctory นำไปใช้ประโยชน์ในช่วยวางแผนการลงทุนให้กับลูกค้าได้

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top