Print Page

Font Size:

การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในยุคอุตสาหกรรม 4.0

วันที่ : 10 December 2018 | หมวดหมู่ : Industry 4.0



ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน และค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสูง รวมไปถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน การที่ทุกๆบริษัทจะคงอยู่ได้ บริษัทจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไม่ว่าจะด้วยการลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลา downtime ลดการขาดทุนของผลิตภัณฑ์ที่มีตำหนิ หรือเป็นการเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการประหยัดพลังงาน บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค มีข้อแนะนำในการปรับปรุงประสิทธิภาพดังนี้

1. วิเคราะห์กระบวนการผลิต

เพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้และเข้าใจกระบวนการผลิตของตนเองก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด และสิ่งที่ลงทุนไปอาจเสียเปล่า สามารถติดตั้งโมดูล Data logger เพื่อรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา เช่น ข้อมูล Cycle time ตัวแปรที่ใช้ในการผลิต หรือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน และติดตั้งเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน หรือติดตั้งโมดูลวัดพลังงาน (Energy Measuring) เพื่อเก็บค่าพลังงานในการผลิต นอกจากนี้ควรตรวจสอบเพื่อแบ่งแยกงานที่ไม่เหมาะกับมนุษย์ เช่น งานที่ต้องทำซ้ำๆ งานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง และงานที่ต้องยกของหนัก


2. หาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

หลังจากระบุปัญหาและสาเหตุได้แล้ว ถึงขั้นตอนการแก้ไขปัญหา โดยยกตัวอย่างปัญหาหลักๆ ดังนี้

ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตและความผิดพลาดจากมนุษย์

    o ใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น พีแอลซี หน้าจอสั่งการระบบสัมผัส เพื่อปรับปรุงการผลิต

    o ใช้ระบบสายพานในการขับเคลื่อนชิ้นงาน

    o ใช้โรบอตในงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือในงานที่ต้องยกของหนัก

คุณภาพของผลิตภัณฑ์

    o ใช้กล้อง vision เพื่อตรวจสอบคุณภาพ

    o ใช้เซอร์โวเพื่อความละเอียดสูง

    o ใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้เพื่อตรวจสอบหาการทำงานที่ผิดพลาด หรือการตั้งค่าตัวแปรที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมิตซูบิชิ อีเล็คทริคได้สร้างคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม MELIPC ที่มี AI technology ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมๆกับการควบคุมในแบบ real-time ทำให้สามารถคัดคุณภาพชิ้นงานได้ในระหว่างการผลิต

การใช้พลังงาน 

    o ใช้อินเวอร์เตอร์ในการควบคุมพัดลมและปั๊ม

    o ใช้ระบบ SCADA เพื่อดูและควบคุมการผลิต ทำให้สามารถดูข้อมูลการผลิตได้อย่างถูกต้องและง่ายขึ้น สามารถกำหนด schedule ในการเปิด-ปิดไฟ และอุปกรณ์ต่างๆให้สอดคล้องกับไลน์การผลิต หรือเพื่อควบคุมความเร็วของเครื่องจักร 




3. ตรวจสอบ ประเมินและปรับปรุง

หลังจากปรับปรุงกระบวนการ ควรทำการตรวจสอบและประเมินผล โดยอาจใช้ข้อมูลรีพอร์ตในการเปรียบเทียบค่าระหว่างก่อน-หลังทำการปรับปรุง เพื่อพิจารณาความคุ้มค่า

ในการปรับปรุงแนะนำว่าให้เริ่มจากกระบวนการหนึ่งๆก่อน เมื่อเห็นผลประสิทธิภาพ จึงค่อยประยุกต์กับกระบวนการทั้งหมด นอกจากนี้ควรทำการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถสร้างผลิตผลได้สูงที่สุดด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด


แบ่งปันเพจนี้
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox