การใช้ Data Driven และระบบ IoT ในโรงงานอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นจะต้องปรับตัวตามไปด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่า "ข้อมูล" ได้กลายมาเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำธุรกิจที่ทรงพลังที่สุด แต่การจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ "เทคโนโลยี IoT"
ในบทความนี้ เราจะพาไปดูกันว่าการนำ Data Driven Process และเทคโนโลยี IoT มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ จะสามารถช่วยขับเคลื่อนให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไรบ้าง
Data Driven Process และเทคโนโลยี IoT (Internet of Things)
เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ Data Driven Process (กระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล) เป็นเหมือนสองพลังที่ช่วยส่งเสริมการทำงานให้กับภาคอุตสาหกรรม โดย IoT ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเซนเซอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะที่ Data Driven Process จะเป็นศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ต่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
Data Driven Process กับโรงงานอุตสาหกรรม
Data Driven Process คือ การออกแบบกระบวนการทำงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ที่ยึดหลักข้อมูลเป็นสำคัญ มีหลักการทำงานที่ต้องอาศัยการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปรับปรุงกระบวนการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์หรือผู้รับผิดชอบมาคอย Monitor ข้อมูลเหล่านั้น
การนำ Data Driven Process มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
- การวางแผนการผลิต : การรวบรวมข้อมูล Cycle time รวมถึงตัวแปรที่ใช้ในการผลิต ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน และข้อมูลประสิทธิภาพการผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์ พร้อมวางแผนปริมาณการผลิตให้เหมาะสม
- การควบคุมคุณภาพ : เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้ มาตรวจสอบหาการทำงานที่ผิดพลาด หรือการตั้งค่าตัวแปรที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับกระบวนการผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
- การบำรุงรักษาเครื่องจักร : การนำข้อมูลการใช้งานเครื่องจักร เพื่อดูถึงอายุการใช้งาน ข้อมูลค่าระหว่างก่อน-หลังทำการปรับปรุง จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม พร้อมพิจารณาความคุ้มค่าในการใช้งาน
- การรักษาความปลอดภัยในโรงงาน : การนำข้อมูลตรวจจับความร้อน การติดตามตำแหน่งของพนักงานตลอดการทำงาน รวมถึงการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงด้วยกล้องวงจรปิด เป็นข้อมูลส่วนสำคัญที่นำมาวิเคราะห์และจัดการเพื่อให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย สามารถวางแผนเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การติดตั้งเทคโนโลยี IoT ในโรงงาน มีข้อดีอย่างไร ?
การนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ในโรงงาน จะช่วยให้การใช้งาน Data Driven Process ในโรงงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อดีดังนี้
- มีฟังก์ชันเฉพาะที่ช่วยจัดการทุกข้อมูล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
- ประยุกต์ใช้งานง่าย ด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้การติดตั้งและใช้งานเป็นไปอย่างสะดวก
- เพิ่มความปลอดภัย ระบบ IoT สามารถช่วยติดตามและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภายในโรงงาน รวมถึงตรวจจับความผิดปกติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและเหตุร้าย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการเทคโนโลยี IoT ที่พร้อมอำนวยความสะดวกในการติดตั้ง IoT แบบครบวงจร ทำให้มีตัวเลือกแพ็กเกจที่น่าสนใจมากมาย ในราคาที่ประหยัด
- ลดต้นทุนการผลิต โดยการนำข้อมูลที่ได้จากระบบ IoT มาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการผลิตชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์ และเพิ่มผลผลิต ช่วยลดต้นทุนการผลิตในระยะยาวได้
ด้วยข้อดีเหล่านี้ ระบบ IoT จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอย่างมากในการช่วยขับเคลื่อนการทำงานแบบ Data Driven Process ในโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างราบรื่นและแม่นยำยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ทั้งยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงงานอีกด้วย
มาเปลี่ยนข้อมูลที่กระจัดกระจายให้ใช้งานได้อย่างสูงสุด ด้วยการผนึกกำลังระหว่างเครื่องจักร เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการติดตั้งเทคโนโลยี IoT ในโรงงานอุตสาหกรรม ได้ที่ Mitsubishi Electric Factory Automation พร้อมนำเสนอ e-F@ctory Starter Package แพ็กเกจเทคโนโลยี IoT เพื่อการใช้งานในโรงงาน ตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพด้านการผลิต ภายใต้งบประมาณที่สามารถควบคุมได้ พร้อมใช้งานได้อย่างงง่ายดาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการทำโปรแกรมสำหรับสายการผลิตได้จริง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันต้นแบบ e-F@actory และบริการที่สนใจได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600
ข้อมูลอ้างอิง
- Data Driven Process สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.coraline.co.th/single-post/data-driven-process-สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในยุคอุตสาหกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.mitsubishifa.co.th/th/NewsDetails.php?id=MzE=รู้จักประโยชน์ของ IoT อุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยในโรงงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.mitsubishifa.co.th/th/NewsDetails.php?id=MjI1