ข้อมูลเบื้องต้นการเลือกโมดูลใช้งาน MELSEC iQ-R
PLC ของ Mitsubishi Electric สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า อุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติแบบโปรแกรม (PAC หรือ Programmable Automation Controller) สำหรับใช้ในระบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมการทำงาน สถานการณ์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในไลน์การผลิต โดยซีรีส์ MELSEC iQ-R ได้มีการเปิดตัวในปี 2014 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมแห่งอนาคต ในการปฏิรูปการผลิตแบบใหม่อย่างแท้จริง โดยเป็นการสร้างระบบอัตโนมัติในยุคระบบการผลิต ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ระบบการควบคุมนี้ได้รับการออกแบบจากปัญหาพื้นฐานของการใช้งาน PLC รุ่นก่อนๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน
ตัวอย่างระบบ PLC
ตัวอย่างระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ยึดตามสายการผลิตครื่องดื่มที่จะแสดงถึงระบบอัตโนมัติด้านต่างๆ ตั้งแต่ CIP การบรรจุขวด การติดฉลาก ไปจนถึงการจัดเรียง และระบบการจัดเก็บ/การเรียกคืนอัตโนมติ (AS/RS) ที่มีการใช้ PLC ได้ในไลน์การผลิต ซึ่งเป็นการผลิตที่ต้องมีระบบอัตโนมัติในระดับสูง
ตัวอย่างส่วนประกอบโมดูลสำหรับระบบการจัดเรียง
- โมดูลแหล่งจ่ายไฟ (Power supply Module)
- โมดูล CPU
สำหรับดำเนินการควบคุมสัญญาณอินพุตดิจิทัล โดยจะถูกประมวลผลเป็นสัญญาณเอาท์พุตผ่านทางโมดูลเอาท์พุท
- โมดูลอินพุต
สำหรับรับสัญญาณดิจิทัลจากเซ็นเซอร์และส่งข้อมูลไปยังโมดูล CPU
- โมดูลเอาท์พุต
สำหรับรับคำสั่งจากโมดูล CPU และส่งสัญญาณเอาท์พุตดิจิทัลไปยังรางนำการจัดเรียง
- ฐาน (Base Unit)
การเลือกโมดูล ซีรีส์ MELSEC iQ-R
ประกอบด้วยโมดูลหลายประภทที่สามารถใช้สำหรับแอปพลิเคชันอัตโนมัติที่หลากหลาย ในตัวอย่างของระบบการจัดเรียง จะมีการใช้โมดูล I/O (อินพุตและเอาท์พุต) ดิจิทัลเป็นตัวกลางหลักส่งสัญญาณดิจิทัลไปยังภายนอก
การเลือกโมดูล I/O
การเลือกโมคูล I/O ที่เหมาะสม ต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
● ต้องใช้อุปกรณ์ I/O จำนวนเท่าใด (จำนวนจุดของ /O)
● แรงดันไฟฟ้าอินพุตและเอาท์พุต
ตัวอย่างระบบการจัดเรียงประกอบด้วย
● อุปกรณ์อินพุตหนึ่งชุด (พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์)
● อุปกรณ์เอาท์พุตสองชุด (รางนำการจัดเรียง)
● แรงตดันไฟฟ้าอินพุตเอาท์พุต 24 V DC
สามารถใช้งานโมดุลขาออกแบบซิงค์และแบบชอร์สได้โดยขึ้นอยู่กับระบบการเดินสายไฟที่ใช้งานอยู่ จากตัวอย่างนี้ เลือกโมดูลขาออกแบบซิงค์
ต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้เพื่อทำการเลือกโมคุล CPU ที่เหมาะสม
● จำนวนของจุด I/O ทั้งหมดที่ต้องการ
● ความจุหน่วยความจำโปรแกรม
โปรแกรมจะถูกจัดเก็บในโมดูล CPU ดังนั้นจึงควรพิจารณาโมดูล CPU ที่เพียงพอสำหรับขนาดของโปรแกรม โดยทั่วไปแล้วแอปพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ความจุของโปรแกรมขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถรองรับระบบควบคุมเพิ่มเติมในอนาคต
การเลือกฐาน (Base Unit)
Base Unit คือ ส่วนประกอบหลักของระบบและยึดโมดูลเข้าด้วยกัน รวมถึงทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านทางบัสของระบบ จำนวนโมดูลที่สามารถติดตั้งได้จะแตกต่างกันตามความจุหรือขนาดสล็อต Base Unit ในขณะนี้มีสล็อตให้เลือก 3 ขนาด คือ 5, 8 12 สล็อต
เมื่อมีการพิจารณาขนาดของระบบควบคุมและโมดูลที่กำหนด จะมีการเลือก Base Unit ที่เหมาะสมที่สามารถรองรับความจุสล็อต I/O ได้ เพื่อให้สามารถรองรับสล็อตเพิ่มเติมในอนาคต โดยผู้ใช้งานควรเลือกขนาดของ Base Unit ให้มากกว่าโมดูลที่จำเป็นต้องใช้
การเลือกโมดูลแหล่งจ่ายไฟ
การเลือกโมดูลแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสม ต้องมีการคำนวณกระแสไฟที่จำเป็นต้องใช้ใน Base Unit รวมทั้งโมดูลอื่นทั้งหมด เพื่อให้สามารถจ่ายไฟให้กับระบบควบคุมอย่างเพียงพอ
สามารถคำนวณกระแสไฟที่ใช้ได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้วิธีการ 2 วิธีต่อไปนี้
● "ระบบการเลือกรุ่น" ของ MELSEC iQ-R ซีรีส์ (Selection Tool)
● ผ่านทางซอฟต์แวร์ "GX Works3"
สำหรับตัวอย่างการจัดเรียง กระแสไฟฟ้ารวมที่ต้องการจากการใช้งานร่วมกันของ Base Unit โมดูล CPU โมดูลอินพุตและโมดูลเอาท์พุต คือ 1.5 A
เลือกรุ่นด้วยตัวเองได้อย่างไร?
มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น พร้อมมอบบริการเครื่องมือการเลือกรุ่นระดับมืออาชีพให้ท่านสามารถเลือกได้ด้วยตัวเอง ทุกที่ ทุกเวลา
โปรแกรมเลือกรุ่น