Print Page

Font Size:

ตัวอย่างการนำ e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้โดย Mitsubishi Electric (Nagoya Works)

วันที่ : 18 October 2019 | หมวดหมู่ : e-F@ctory

หลายๆท่านคงเคยได้ยินหรือรู้จักโซลูชั่น e-F@ctory ที่ทางมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ได้พัฒนาโซลูชั่นที่มุ่งเน้นการเชื่อมต่อของข้อมูลในทุกระดับและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานและสนับสนุนระบบการผลิตในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึง supply chain ตลอดจนเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าบริหารจ่ายผู้ประกอบการ หรือ Total Cost of Ownership ได้อีกด้วย




และด้วยโซลูชั่น e-F@ctory นี้เองทางมิตซูิบิชิ อีเล็คทริค โรงงานนาโกย่าเองก็ได้นำเอามาช่วยในการปรับปรุงด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การประหยัดพลังงาน ความปลอดภัยของเครื่องจักร หรือแม้กระทั่งการสร้างความปลอดภัยของระบบ โรงงานมิตซูบิชิ อีเล็คทริค นาโกย่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เราจะไปดูตัวอย่างการนำ e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้โดย Mitsubishi Electric (Nagoya Works) ว่าเป็นอย่างไร


ตัวอย่างการนำ e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้ในด้านการเพิ่มผลผลิตด้วยการจัดการการดำเนินงาน, ระบบประหยัดพลังงาน, ระบบสนับสนุนการทำงาน

สิ่งที่ต้องการปรับปรุง

เพิ่มความเสถียรของอัตราการปฏิบัติงานโดยลดการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่ถูกต้องในขั้นตอนการประกอบชิ้นงาน

ลดเวลาในการวิเคราะห์สาเหตุของความเสียหาย

แบ่งเบาภาระผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำแก่พนักงานใหม่

สร้างมาตรการความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทำการหยิบชิ้นงานเข้าและออกจากเครื่องจักร

โซลูชั่น

แนะนำการนำตัวควบคุม C controller เข้ามาช่วยสำหรับการจัดการดำเนินงาน โดย C Controller สามารถควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตหรือเป็นตัวกลางในการนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการผลิตส่งต่อไปยังระบบ IT โดยการเขียนโปรแกรมจะใช้ภาษา C หรือ C++ การเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Shop Floor เช่น การควบคุม, การตรวจสอบ, การดูสถานะการทำงานของระบบม เกตเวย์ที่ใช้ในติดต่อการสื่อสาร เป็นหลักการประมวลผลและการวิเคราะห์ที่จะวินิจฉัยในเวลาจริง ข้อมูลเหล่าจะทำให้มีความเป็นไปได้ในการตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริง ทำให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เอื้อต่อการปรับปรุงคุณภาพและการผลิตที่เพิ่มขึ้น

แนะนำการใช้หน้าจอแสดงผลเข้ามาช่วยในระบบการขันสกรู (screw-fastening) เพื่อลดเวลาในการให้ตำแนะนำแก่พนักงานใหม่

แนะนำระบบสำหรับบริหารจัดการการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศและไฟโดยใช้ MC Works64 และ PLC โดยใช้โมดูลสำหรับวัดพลังงานมาติดตั้งที่ตัวเครื่องจักรและเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ SCADA นการแสดงค่าพลังงานที่ใช้ในแต่ละอุปกรณ์

แนะนำระบบขนส่งสินค้าแนวตั้งเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าระหว่างชั้นโดยใช้ Safety PLC ในการควบคุมเพื่อความปลอดภัย

ผลที่ได้

ลดค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานลง 30%

ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานลดลง 50%

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 30%

ลดเวลาในการสอนพนักงานใหม่ได้ถึง 65%



ตัวอย่างการนำ e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้ในด้านการปรับปรุงคุณภาพการผลิต

สิ่งที่ต้องการปรับปรุง

รองรับความต้องการของการและการผลิตสินค้าในปริมาณมากและมีความหลากหลาย

ปรับปรุงอัตราการทำงานและคุณภาพของเครื่องจักร

โซลูชั่น

เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆทีได้มาจากเครื่องจักรโดยตรงโดยการนำเอาระบบ MES Interface และ PLC เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูล โดย MES Interface จะช่วยเก็บและส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากอุปกรณ์ที่ควบคุมการผลิตจริงไปยังระบบ IT

เชื่อมต่ออุปกรณ์และระบบ MES Interface โดยตรงกับเครื่องจักรและระบบการผลิตเพื่อเสริมสร้างการจัดการข้อมูลรวมทั้งการวางแผนปรับปรุงแผนการผลิตตามความต้องการในแต่ละช่วง เพื่อตอบสนองความต้องการการผลิตสินค้าที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย

ผลที่ได้

ลดเวลาในการรอคอยสินค้า 50%

ลดเวลาเดินเครื่อง 40%

ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานลดลง 50%

ลดเวลาในการสร้างระบบได้ถึง 65%

ลดกรอบเวลาผลิต 50%




ตัวอย่างการนำ e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย AI Robot

สิ่งที่ต้องการปรับปรุง

ปรับปรุงอัตราการทำงานของไลน์การผลิตที่มีชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน

รองรับการผลิตที่มีปริมาณความหลากหลายสูง การผลิตปริมาณน้อย รอบการผลิตสูง

ลดพื้นที่การติดตั้งเครื่องจักร

โซลูชั่น

แนะนำระบบการผลิตที่นำเอาหุ่นยนต์เข้ามาผสมผสานการทำงานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการผลิต นอกจากนี้ยังสามารถลดพื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจักรได้อีกด้วย โดย Robot สามารถทำงานได้ใน Station การทำงานได้มากกว่า 1 Station หากระยะเอื้อมของโรบอทเอื้อมไม่ถึง เรายังสามารถเสริมแกน Servo เพิ่มเพื่อให้ Robot สามารถเคลื่อนที่ได้ระยะทางที่มากขึ้น 

นำ e-F@ctory เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลคุณภาพรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรจากส่วนกลาง

การรวบรวมและการจัดการของข้อมูลผลิตภัณฑ์ และข้อมูลคุณภาพสำหรับอุปกรณ์แต่ละชิ้น โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ ในกรณีที่สินค้ามีปัญหา เราสามารถใช้ข้อมูลในส่วนนี้ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุว่าปัญหาที่พบนั้นเกิดจากกระบวนการใดในการผลิต และมีลอตการผลิตสินค้าใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอัจฉริยะของหุ่นยนต์ในขั้นตอนการการประกอบโดยใช้เทคโนโลยี Force Sensor ในการตรวจสอบแรงที่กรทำต่อวัตถุ เพื่อลดความเสียหายจากการใช้แรงกดมากเกินไปในการประกอบ และใช้ AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อลดเวลาในการหามุมที่เหมาะสมในการประกอบ และให้การประกอบชิ้นงานมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น

ผลที่ได้

ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 30%

ลดเวลาการทำงานของคนงานลง 55%

ลดพื้นที่การติดตั้งเครื่องจักรได้มากถึง 85%

เพิ่มอัตราการเดินเครื่อง 60%


จากตัวอย่างการนำโซลูชั่น e-F@ctory ไปประยุกต์ใช้ในโรงงาน มิตซูบิชิ อีเล็คทริค นาโกย่านั้น สามาถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรวมทั้งลดระยะเวลาในการผลิตได้อย่างมาก ทั้งนี้เราสามารถนำโซลูชั่น e-F@ctory ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการผลิตในโรงงานของคุณได้ตามแบบที่คุณต้องการ โดยอาจเริ่มจากจุดเล็กๆในระบบของคุณไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลคุณภาพแสดงผลยังหน้าจอ หรือการปรับปรุงคุณภาพการผลิตโดยนำระบบอัตโนมัติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตคุณ เท่านี้ คุณก็สามารถพัฒนากระบวนการผลิตของคุณให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

แบ่งปันเพจนี้
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox