Print Page

Font Size:

เข้าใจ Machine Monitoring System คืออะไรภายในอุตสาหกรรม ?

วันที่ : 17 July 2024 | หมวดหมู่ :

เนื่องจากในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น ทำให้ในหลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต รวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าว่าเครื่องจักรภายในโรงงานจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้

ซึ่งหนึ่งในระบบที่สามารถนำมาต่อยอดและช่วยขับเคลื่อนให้การทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือระบบอย่าง Machine Monitoring System (MMS) แต่ระบบนี้คืออะไร และจะเข้ามามีบทบาทอย่างไรต่อการทำงานภายในอุตสาหกรรม บทความนี้มีคำตอบ

ทำความเข้าใจว่า Machine Monitoring System (MMS) คืออะไร

Machine Monitoring System (MMS) คือโซลูชันปฏิวัติกระบวนการอุตสาหกรรม

Machine Monitoring System (MMS) คือเครื่องมือที่มีความซับซ้อน เนื่องจากเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อติดตาม บันทึก และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำการรวบรวมข้อมูลสำคัญจากชิ้นส่วนของเครื่องจักรต่าง ๆ ผ่านเซนเซอร์ จากนั้นจะตีความหมายและแปลงเป็น Data เพื่อทำการบันทึก และนำไปต่อยอดในการใช้งานต่อไป

โดยระบบแจ้งเตือนสถานะการผลิตเครื่องจักรจาก Machine Monitoring System นี้ จะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักร พร้อมคาดการณ์การทำงาน รวมถึงความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ซึ่งประโยชน์ที่ตามมาก็คือ สามารถช่วยบรรเทาความเสียหายที่ไม่คาดคิด อีกทั้งยังลดโอกาสการชำรุดของเครื่องจักร ที่อาจทำให้การทำงานในกระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของผลประกอบการโดยตรง 

การทำงานของ Machine Monitoring System

หลักการทำงานของ Machine Monitoring System คือการทำงานแบบตรงไปตรงมา ผ่านการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้ผ่านเซนเซอร์ในจุดต่าง  ๆ ทั้งการจับอุณหภูมิ แรงสั่นสะเทือน และการใช้พลังงานของเครื่อง รวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย ก่อนจะส่งข้อมูลดิบเหล่านั้นไปยังศูนย์กลางเพื่อทำการประมวลผล 

ในขณะเดียวกันแพลตฟอร์ม Machine Monitoring System ในยุคปัจจุบัน ได้ถูกพัฒนาให้มีความเก่งกาจมากขึ้น ด้วยการนำอัลกอริทึมขั้นสูงมารวมกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล และระบุแนวโน้มต่าง ๆ ได้อย่างเที่ยงตรง ทั้งยังสามารถแจ้งเตือนและอัปเดตได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการแก้ไขเมื่อตรวจจับความผิดปกติของเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

การทำงานร่วมกันระหว่าง Machine Monitoring System และ IoT 

นอกเหนือจากความอัจฉริยะแล้ว Internet of Things (IoT) ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการนำมาใช้ร่วมกับระบบ Machine Monitoring System ภายในภาคอุตสาหกรรม โดยจะถูกนำมาใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักร และระบบการตรวจสภาพ ที่ใช้ระบบ “เซนเซอร์” เป็นตัวกลางในการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์

โดยจะทำการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ก่อนส่งไปยังซอฟต์แวร์ตรวจสอบเครื่องจักร เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีในกระบวนการซ่อมบำรุง ทำให้สามารถคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และวางแผนการดูแลรักษาเครื่องจักร ตลอดจนการพัฒนาแผลการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ข้อดีของการใช้ Machine Monitoring System และ IoT

  • สามารถตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เข้าใจสถานะการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างลึกซึ้ง
  • ติดตามและวิเคราะห์สาเหตุของการ Downtime และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Predictive Maintenance) ได้ดี
  • ช่วยเพิ่ม Overall Equipment Effectiveness (OEE) หรือ ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 
  • ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย โดยแจ้งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าผ่านเครื่องมือสื่อสาร
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาแบบใช้ Data สำหรับไลน์การผลิตได้อย่างตรงจุด

ประโยชน์ของการใช้งาน Machine Monitoring System ผ่าน LINE Notify

Machine Monitoring System (MMS) คืออะไร ใช้กับ LINE Notify

LINE Notify เป็นบริการแจ้งเตือนบนแอปพลิเคชัน LINE ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Machine Monitoring System พร้อมช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลและแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานะของเครื่องจักรได้แบบเรียลไทม์ ผ่านมือถือและแท็บเล็ตได้อย่างมั่นใจ ยกตัวอย่างการแจ้งเตือน เช่น

  • การแจ้งเตือนแบบปกติ: แจ้งเตือนสถานะทั่วไปของเครื่องจักร เช่น สถานะของเครื่องขณะกำลังทำงาน หยุดพัก หรืออยู่ในโหมดซ่อมบำรุง
  • การแจ้งเตือนแบบเตือนภัย: แจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดปกติกับเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิสูงเกินไป แรงดันน้ำมันต่ำ หรือมอเตอร์ทำงานผิดปกติ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขและซ่อมบำรุงโดยทันที ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • แจ้งเตือนแบบฉุกเฉิน: แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงกับเครื่องจักร เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรแตกหัก หรือเกิดเพลิงไหม้ เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย และดูแลอย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการใช้ LINE Notify เพื่อแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักร

  • ให้ความสะดวก รวดเร็ว สามารถรับข้อมูลและแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถติดตามสถานะ ทราบถึงปัญหา และแก้ไขได้ทันท่วงที
  • สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพิ่มการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น
  • รองรับการติดตั้งได้หลายอุปกรณ์ ใช้งานเสถียร ลดโอกาสพลาดได้อย่างมั่นใจ

ด้วยโซลูชันจาก LINE Notify ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็ว เพียงติดตั้งอุปกรณ์ที่รองรับกับระบบทั้งหมด 7 ชิ้น ได้แก่  โมดูล CPU iQ-R (R04CPU or higher), โมดูล C-Intelligent function: RD55UP12-V``, แหล่งจ่ายไฟ: โมดูลจ่ายไฟของ iQ-R, Base: ฐาน iQ-R, SD Card: 4 ~ 16 GB, IP Address (ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้) และสายเคเบิล Ethernet: Cat 5E เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงการตั้งค่าพารามิเตอร์ และโปรแกรมการแจ้งเตือนอุตสาหกรรมผ่าน LINE Notify ได้อย่างสะดวกสบาย โดยสามารถเริ่มต้นการใช้งานเพียงแค่ลงทะเบียนผ่าน https://notify-bot.line.me/th/ และเลือกออก Token เพื่อแสดงการแจ้งเตือน Alarm ได้เลย

ยกระดับการตรวจสอบสถานะเครื่องจักร และติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดด้วยโซลูชันล้ำสมัยจาก Mitsubishi Electric Factory Automation อย่าง LINE Notification Solution ตัวช่วยแจ้งเตือนสถานะการผลิตเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมให้คำปรึกษาทั้งด้านการสร้างและพัฒนาระบบโรงงานอัจฉริยะ นอกจากนี้ ยังมีโซลูชันทางเลือกอีกมากมายที่รองรับทุกความต้องเพื่อ Smart Factory ทุกระดับ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร 02-092-8600

ข้อมูลอ้างอิง
What is a Machine Monitoring System? A Comprehensive Guide. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567. จาก https://datamyte.com/blog/machine-monitoring-system/
แบ่งปันเพจนี้
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox