Print Page

Font Size:

เจาะลึก SMKL ก่อนเริ่มต้นทำ Smart Factory ช่วยดันยอด ROI

วันที่ : 27 March 2024 | หมวดหมู่ :

SMKL แนวคิดที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นทำ Smart Factory

ทุกการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต ย่อมมาพร้อมกับความคาดหวังทั้งในเรื่องของรายได้และความสำเร็จในการทำธุรกิจ ซึ่งการปรับปรุงโรงงานสู่การเป็น Smart Factory นอกจากจะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจแล้ว ยังจะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนด้วย

แต่ในการจะเป็นโรงงานอัจฉริยะได้อย่างสมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องมีการเตรียมตัวทำ Smart Factory เพื่อดูถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำระบบ Smart Manufacturing Kaizen Level (SMKL) เข้ามาใช้ในการประเมิน เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Smart Factory ได้อย่างสมบูรณ์ ในบทความนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันว่า หากผู้ประกอบการต้องการเริ่มต้นทำ Smart Factory ควรรู้ถึงเรื่องใดบ้าง และจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบในด้านใด เพื่อให้การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

รู้จักแนวคิด SMKL สู่การเริ่มต้นทำ Smart Factory


เจาะลึก SMKL กุญแจสู่การเริ่มต้นทำ Smart Factory ให้เกิดประสิทธิภาพ

แนวคิด Smart Manufacturing Kaizen Level หรือ SMKL เกิดขึ้นจากการพัฒนาของ Mitsubishi Electric ซึ่งต่อยอดมาจากแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการระบบโรงงานให้เกิดประสิทธิผล อีกทั้งแนวคิดนี้ ยังเป็นกุญแจสู่การบริหารระบบโรงงานในภาพรวม โดยเน้นถึงการแก้ปัญหาแบบเจาะลึกถึงรายละเอียดให้มากที่สุด

แนวคิด SMKL คืออะไร?

SMKL คือ ดัชนีที่ใช้ในการประเมินโรงงาน โดยอ้างอิงจากการใช้ประโยชน์ที่ได้จาก Internal Data โดยสามารถแสดงถึงวัตถุประสงค์ ทิศทางการพัฒนาและผลที่จะได้รับจากการลงทุนในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นไปกำหนดทิศทางในการวางแผนการลงทุน ปรับปรุง รวมถึงแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมตัวทำ Smart Factory อย่างเต็มรูปแบบต่อไป   

ข้อดีของ SMKL ที่มีต่อการเริ่มต้นทำ Smart Factory

  • เป็นแนวคิดและกลไก ที่นำไปสู่การเริ่มต้นทำ “Smart Factory” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้สามารถดำเนินการตามขั้นตอน ในการจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของโรงงานแต่ละแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เป็นหลักการที่ผ่านกระบวนการคิดและพัฒนา ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืน ทำให้สามารถสร้าง “ความเป็นอัจฉริยะ” ภายในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
  • สามารถนำไปใช้คำนวณ ROI (Return on Investment) หรือผลตอบแทนในการลงทุน ได้ในทุก ๆ ขั้นตอน สู่การตัดสินใจเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน
  • ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพได้ทุกระดับ ตั้งแต่โรงงานไปจนถึงระดับซัพพลายเชนสูงสุด ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ พร้อมช่วยเสริมศักยภาพในกระบวนการทำงาน ที่จะส่งผลต่อผลประกอบการที่ดีในอนาคตด้วย  

แบบจำลองก่อนเตรียมตัวทำ Smart Factory


ROI ที่ได้จากการทำ Smart Factory มีความสำคัญสำหรับโรงงานอย่างไร ?

  • การตัดสินใจทางการเงิน: เพราะ ROI เป็นเมตริกที่ใช้ในการประเมินความสามารถในการทำกำไร และศักยภาพด้านการลงทุน ทำให้ฝ่ายบริหารสามารถมองเห็นภาพรวมในการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการได้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
  • การจัดสรรทรัพยากร: การนำระบบ SMKL เข้ามาช่วยในการประเมินโรงงาน ยังจะสร้างผลลัพธ์ของ ROI ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้จัดการโรงงานสามารถมองเห็นภาพรวมหลังการคำนวณได้อย่างชัดเจน พร้อมนำไปจัดลำดับความสำคัญด้านการลงทุนและจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการผลิตได้อย่างเต็มที่
  • การวัดประสิทธิภาพ: สามารถนำมาประเมินความสำเร็จและประสิทธิผลที่ได้จากการลงทุน โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ROI ที่คาดหวังกับ ROI จริงที่ได้รับ จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผ่านโซลูชันโรงงานอัจฉริยะที่ยึดแนวคิด SMKL เป็นหลัก
  • การลงทุนที่สมเหตุสมผล: ด้วยการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับการลงทุนได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากเห็นมุมมองทางการเงินที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของผลประโยชน์และผลตอบแทนที่อาจจะได้รับ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะเป็นหลักประกันในการสนับสนุนและอนุมัติงบประมาณการผลิตต่าง ๆ 
  • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: การวิเคราะห์ ROI ที่ผ่านกระบวนการประเมินอย่างละเอียด จะทำให้ได้ตัวเลขที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจต่อการทำธุรกิจ ทั้งในด้านการปรับปรุงแผนงาน การเพิ่มกำลังการผลิตโดยเครื่องจักร หรือการลงทุนกับระบบ Smart Factory ตลอดจนการพัฒนาในส่วนของการคลัง เป็นต้น
  • การประเมินความเสี่ยง: นอกจากจะช่วยกำหนดทิศทางการลงทุน และประเมินความเป็นไปได้ในการสร้างผลตอบแทนแล้ว ROI ยังมีส่วนช่วยประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ประกอบสามารถชั่งน้ำหนักในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของผลตอบแทนและปัจจัยเสี่ยง เพื่อประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนต่อประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงาน

3D Simulator MELSOFT Gemini โซลูชันที่ตอบโจทย์ต่อการประเมินแบบ SMKL

ซึ่งนอกจากการประเมินโรงงานด้วย SMKL ก่อนเริ่มต้นทำ Smart Factory แล้ว หากผู้ประกอบการต้องการให้การปรับเปลี่ยนครั้งนี้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกหนึ่งโซลูชันที่ควรนำมาปรับใช้ก็คือระบบ 3D Simulator MELSOFT Gemini เพราะเป็นโซลูชันแบบจำลองที่ถูกพัฒนาเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบดิจิทัล ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานได้เห็นภาพรวมในการปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Smart Factory อย่างสมบูรณ์ ที่จะส่งผลให้สามารถแข่งขันกับเวลาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

โดย 3D Simulator MELSOFT Gemini จะทำหน้าที่เป็นเสมือนพื้นที่สำหรับควบคุมโรงงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยระบบจำลอง 3 มิติ เพื่อแสดงผลลัพธ์การทำงานของเครื่องจักร พร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถทำงานได้อย่างเสมือนจริงก่อนเปิดตัวใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยลดทั้งต้นทุนและเวลาในระหว่างขั้นตอนการออกแบบเพื่อเตรียมตัวทำ Smart Factory ได้เป็นอย่างดี ตอบโจทย์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตในยุค 4.0 ในทุก ๆ ด้าน!

Mitsubishi Electric Factory Automation พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโซลูชันสร้างแบบจำลองสำหรับ Smart Factory โดยเฉพาะ นับเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ต่อผู้ประกอบการได้อย่างเป็นมืออาชีพ พร้อมการันตีการทำงานที่ควบคุมโดยวิศวกร ที่ผ่านการอบรมอย่างถูกต้องจากประเทศญี่ปุ่น รองรับทุกความต้องการเพื่อ Smart Factory 4.0 ทุกระดับ หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600 ได้ตลอดเวลาทำการ

อ้างอิงข้อมูลจาก

    1. SMKL กุญแจประเมินอุตสาหกรรม พลิกการผลิตสู่ระบบอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 จาก https://www.mitsubishifa.co.th/en/NewsDetails.php?id=MTky
    2. SMKL ต่อยอดแนวคิดไคเซ็น สู่ระบบการผลิตอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 จาก https://www.mreport.co.th/experts/business-and-management/211-SMKL-Smart-Manufacturing-Kaizen-Level-Mitsubishi-Electric
    3. SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level) นำทางคุณสู่ความสำเร็จในการผลิตแบบอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 จาก https://www.mitsubishielectric.com/fa/th_th/sols/digital-manufacturing/smkl/
    4. 3D Simulator MELSOFT Gemini. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 จาก https://www.mitsubishielectric.com/fa/sols/efactory/component/3dsim/index.html 


    แบ่งปันเพจนี้
    Subscribe
    Receive the latest headlines, right to your inbox