Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

เตรียมพบ 4 ไฮไลต์ งาน Automating the World Day 2023 ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ดันไทยสู่ Industry 4.0

Date : 07 July 2023 | Categories : News

เตรียมพบ 4 ไฮไลต์ งาน Automating the World Day 2023 ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ดันไทยสู่ Industry 4.0

        บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับพันธมิตรเดินหน้าจัดงาน Automating the World Day 2023 ในวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 ที่ EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเชื่อมภาคอุตสาหกรรมกับภาคการศึกษา สร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติให้กับบุคลากรในภาคการศึกษาไทย ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศให้ก้าวทัน Industry 4.0

        แล้วในงานนี้ มีอะไรให้ได้ติดตามกันบ้าง… สุรีรัตน์ ผดุงศักดิ์วิริยะ วิศวกรการตลาดอาวุโส หัวหน้างานผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี Showcases และด้านการศึกษา แผนกการตลาด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จะได้มาให้ข้อมูลอัปเดต พร้อมกล่าวถึงภารกิจการพัฒนาการศึกษาไทยที่ทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน

คุณสุรีรัตน์ ผดุงศักดิ์วิริยะ วิศวกรการตลาดอาวุโส หัวหน้างานผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี Showcases และด้านการศึกษา แผนกการตลาด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด


        ความพร้อมของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น กับการจัดงานการแข่งขัน Mitsubishi Electric Cup Automation (MECA) ที่จะมีจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายในงาน Automating the World Day 2023

        “ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น มองว่าการพัฒนาคนต้องได้มาตรฐานคุณภาพ จึงได้ร่วมจัด Tournament ในรูปแบบของการแข่งขันกับทางสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศทุกปี และยังมีความร่วมมือจัดงานการแข่งขันในรูปแบบนี้ในระดับมหาวิทยาลัย อาทิ กับทางเครือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ และ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ดังนั้นเราจึงมีประสบการณ์การจัดงานแข่งขันด้านระบบอัตโนมัติกับภาคการศึกษาทั่วประเทศมาโดยตลอด”

        คุณสุรีรัตน์ชี้ให้เห็นถึงบทบาทการพัฒนาภาคการศึกษาในรูปแบบของการจัดการแข่งขันทักษะด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ที่ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เข้าไปร่วมเป็นผู้สนับสนุนกับสถาบันการศึกษาทุกระดับ ก่อนที่จะให้ข้อมูลต่อถึงการจัดงาน Automating the World Day 2023 ว่า

        “จากประสบการณ์การจัดงานร่วมกับภาคการศึกษา มาในวันนี้ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น มีความพร้อมในการจัดงานการแข่งขัน (MECA) ของตนเองแล้ว ภายใต้แนวคิดในการจัดงาน Automating the World Day 2023 จึงเกิดขึ้น โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 โดยได้ขอใช้พื้นที่ EEC Automation Park ในการจัดงานครั้งนี้”

        “โดยในงานนี้ เราจะรวมพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมมารวมกันเพื่อพบปะกับน้องๆ นักศึกษา ที่เราได้ไปวางแผนร่วมพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ของน้องๆเหล่านี้ผ่านการฝึกอบรม การเข้าร่วมการแข่งขันทักษะต่างๆ โดยเราคาดหวังว่าด้วยกลไกที่มีประสิทธิภาพนี้จะช่วยสร้างทักษะให้กับนักศึกษาไทยได้จริง และเมื่อทางพันธมิตรได้มาเห็น ก็จะรู้ว่าน้องๆ กลุ่มนี้มีคุณภาพและทำงานได้แน่นอน ดังนั้นการทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายนี้มาเจอกัน ช่วยลดกระบวนการในการสรรหาบุคลากรลงได้ เรียกว่าเป็นการสร้างทางลัดให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษามาเจอกันในงานนี้นั่นเอง”

        “และเรายังได้เชิญกลุ่มบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค​ในประเทศไทย เข้ามาร่วมงานนี้กับเราด้วย เพราะในประเทศไทย มิตซูบิชิ อีเล็คทริค มีทั้งหมด 11 บริษัทในเครือ ที่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่แตกต่างกันไป ซึ่งบริษัทอื่นในเครือก็จะได้มีโอกาสเข้ามาพิจารณาความรู้ ความสามารถ ของนักศึกษาที่มาร่วมงานนี้ เพื่อคัดเลือกไปเป็นพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ต่อไปได้ด้วย”

“ยิ่งไปกว่านั้น ในการจัดงาน Mitsubishi Electric Cup Automation (MECA) ครั้งนี้ เรายังได้ร่วมมือกับองค์กรอย่าง สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) และ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น และเรายังมีความร่วมมือกับ JFAC ศูนย์ฝึกอบรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมและการควบคุมอัตโนมัติ ที่จะมาอบรมในด้าน Japanese Wiring Standard ให้ ซึ่งที่ผ่านมา น้องๆนักศึกษามักขาดทักษะตรงนี้ ซึ่งก็จะเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วการ Wiring ก็มีความสำคัญเช่นกัน”

        “ต่อมาก็มีการจัดให้มีการอบรมและเรียนรู้เรื่องการทำงานของเครื่องจักรในเบื้องต้น ตรงนี้จะมีบริษัทพันธมิตรจาก บริษัท ออโต ไดแด็กติก จำกัด ที่ทำเรื่องชุดการเรียนรู้ด้านการศึกษามาเป็นผู้สอน และทางมิตซูบิชิ ก็จะสอนในเรื่องของ Programing Automation รวมถึง Digital Twin ที่เป็นคอนเซ็ปต์ของงานการแข่งขัน ซึ่งเราใช้โซลูชั่นใหม่ของทางมิตซูบิชิ ที่จะโปรโมทในประเทศไทยเป็น 3D SIMULATOR MELSOFT GEMINI ซึ่งมาเสริมให้งานของเราเป็นเวทีของการเรียนรู้ทักษะสำคัญเหล่านี้เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ Industry 4.0 ต่อไป”

        สำหรับการแข่งขัน Mitsubishi Electric Cup Automation หรือ MECA มีการจัดขึ้นทั่วโลก โดยคุณสุรีรัตน์ยกตัวอย่างว่าที่ประเทศจีน ก็มีการจัดงานนี้ที่สถานศึกษาต่างๆ ติดต่อกันมาแล้วถึง 15 ปี ส่วนประเทศอื่นที่จัดงานนี้ ก็ได้แก่ ประเทศเวียดนาม อินเดีย บราซิล และประเทศไทยก็จะเป็นประเทศต่อไปที่เริ่มจัดงานนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งต่อไปในอนาคต จะมีหลายประเทศที่จะมาร่วมจัดงานนี้ด้วยกัน ในระดับโลก ที่เป็นเป้าหมายใหญ่ต่อจากการจัดงานในระดับประเทศด้วย


        เปิด 4 ไฮไลต์ ที่ทุกคนจะได้พบใน Automating the World Day 2023

        และการจัดงาน Mitsubishi Electric Cup Automation หรือ MECA ในไทยปีนี้ โดยวางวัตถุประสงค์หลักไว้ คือ การมาร่วมมือ และ Matching กันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา และยังได้กำหนดธรมการจัดงานในปีนี้ไว้ให้เป็นธีม Digital Twin ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่คอนเซ็ปของเทคโนโลยีนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น” โดยคุณสุรีรัตน์เน้นย้ำว่า

        “เพราะ Digital Twin เป็นคอนเซ็ปต์ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ในการพยากรณ์การทำงานของเครื่องจักรได้ก่อน เพื่อนำสู่การวางแผนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การจัดงานนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ที่มาร่วมงานได้เห็นถึงเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมจริง เพราะคอนเซ็ป Digital Twin คือการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ของโรงงานเพื่อเก็บดาต้ามาวิเคราะห์และลองปรับไลน์การผลิตก่อน ก่อนที่จะไปทำจริงในภาคการผลิต โดยมีประโยชน์ช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลา ในการผลิตได้ แต่ในภาคการศึกษาก็จะใช้ชุดเทรนนิ่งแทน”

นอกจากนั้น คุณสุรีรัตน์ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง 4 ไฮไลต์ ที่จะได้เจอในงานนี้ด้วย


        Mitsubishi Electric Cup Automation (MECA) Competition

        เตรียมพบกับการแข่งขันของน้องๆ ในระดับมหาวิทยาลัย ที่เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้กับผู้แข่งขันด้วยการอบรมที่ EEC Automation Park ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 ที่หัวข้อการอบรมจะมีตั้งแต่ Wiring Training โดย ศูนย์ฝึกอบรม JFAC และ DOBOT Training โดยบริษัท Auto Didactic รวมถึงการอบรมโซลูชั่นใหม่ของทางมิตซูบิชิ 3D SIMULATOR MELSOFT GEMINI จากนั้น ในวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 ก็จะจัดการแข่งขันในทักษะต่างๆ ที่ได้อบรมมา รวมถึง GENISIS64 และ ทักษะในด้าน REAL TIME MONITORING ด้วย

        Fablab Competition

        เป็นการแข่งขันควบคุมแขนกลหุ่นยนต์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ปีนี้จะมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 10 ทีม ใน 1 ทีม จะประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 2 คน และครูที่ปรึกษา 1 คน เพื่อให้น้องๆ ได้ลองเรียนรู้กลไกการทำงานขั้นพื้นฐานของแขนกลหุ่นยนต์

        Mitsubishi IIoT Solution Workshop Seminar

        การสัมมนาให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติทันที่สมัย ที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องใช้เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ Industry 4.0

        Small Booth by e-Factory Alliances

        อัปเดตความรู้และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติทันสมัยจากพันธมิตรและเครือข่ายของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ที่จะมาร่วมออกบูธ และพร้อมตอบทุกคำถามในงานนี้

        “ดังนั้น ทั้งการแข่งขัน Fablab Competition จึงเป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ ในระดับมัธยมได้มาเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติตั้งแต่เด็ก ที่จะมีส่วนทำให้น้องๆ สามารถยกระดับทักษะการเรียนรู้ของตัวเองให้ไปได้เร็วและไกลขึ้น และในงาน น้องๆ ยังได้เห็นพี่ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยที่จะเข้าแข่งขัน MECA Competition และการเขียนโปรแกรมระบบอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยต่อยอดสร้างแรงบันดาลใจ ให้น้องๆ ได้เห็นตัวเองในอนาคตด้วย”

        “ส่วนงาน IoT Solution workshop Seminar ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะได้มาอัปเดตความรู้ในด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญ และ Small Booth by e-Factory Alliances จะเป็นการแสดงเทคโนโลยีของแบรนด์ต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ได้เจอกับนักเรียน นักศึกษาที่มาร่วมงาน โดยทางฝั่งน้องๆก็ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย นี่จึงเป็นการจัดงานที่ทุกฝ่ายที่มาร่วมงานได้ประโยชน์อย่างแท้จริง”


        เปิดที่มาและเหตุผล การทำธุรกิจคู่ขนานไปกับการพัฒนาการศึกษาไทยของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ประเทศไทย

        เมื่อเอ่ยชื่อ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ทุกคนจะทราบดีว่าเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่เข้ามาขยายฐานการทำธุรกิจในประเทศไทย และอยู่ในฐานะองค์กรชั้นนำที่นำเสนอโซลูชั่นด้านระบบอัตโนมัติให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมาอย่างยาวนาน แต่มีอีกหนึ่งภารกิจที่ได้ดำเนินมาคู่กันนั่นคือการพัฒนาการศึกษาไทย ด้วยความตระหนักในปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัตินั่นเอง โดย คุณสุรีรัตน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า

        “ในฐานะองค์กรที่ทำธุรกิจด้านระบบอัตโนมัติหรือออโตเมชั่น ที่ผ่านมา ทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ก็พบว่าเราขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้ โดยพนักงานใหม่ที่เข้ามาทำงานก็ยังมีทักษะไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้งานจริง ทำให้ทางบริษัทฯ มีแนวคิดที่จะเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาในภาคการศึกษาของไทย”

        “โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2016 ทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ได้เข้าไปทำงานร่วมกับภาคการศึกษาไทย อย่าง สถาบันการศึกษาทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษาที่เปิดทำการเรียนการสอนในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เมคคาทรอนิกส์ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสถานศึกษา ซึ่งแนวคิดนี้เป็นความริเริ่มจากคณะผู้บริหารของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เอง ที่มองว่าบุคลากรในด้านนี้เริ่มขาดแคลน”

        “เพราะส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงานโลก ที่มีอัตราการเกิดของคนน้อยลง ซึ่งเทรนด์นี้ ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน และประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันก็มีอัตราการเกิดของเด็กน้อยลง ก็ยังมีเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ไม่พร้อม และมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับการศึกษาไม่เพียงพอ ทำให้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อบุคลากรในอนาคตของไทยที่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคต”

        “นอกจากนั้น เมื่อเด็กไทยโตไม่ทันต่อความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังพบว่าผู้ที่จบการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงานยังคงขาดความรู้ ทักษะ ตามมาตรฐานที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสถานประกอบการที่รับคนเข้าไปแล้วต้องเสียเวลาในการฝึกอบรมคนเหล่านี้ด้วย”

        “ด้วยเหตุนี้ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น จึงเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้และอยากมีบทบาทในการช่วยสังคมไทยในด้านการพัฒนาคนให้มีศักยภาพตอบโจทย์กระแส Global Trends ที่เปลี่ยนแปลงไป และเนื่องจากเราอยู่ในภาคอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและระบบออโตเมชั่น เราจึงให้ความสำคัญกับภารกิจการพัฒนาด้านนี้เป็นหลัก ซึ่งการพัฒนาคนนี้ก็สอดคล้องไปกับนโยบายของชาติ ที่จะพัฒนาประเทศให้ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ด้วย”

        “ยิ่งเมื่อเกิดดิจิทัลดิสรัปชั่นก็ทำให้ทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมต้องเข้าสู่กระบวนการ Digital Transformation บุคลากรก็ต้องมีทักษะที่ “รู้กว้าง” มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการ “รู้ลึก” แค่ด้านใดด้านหนึ่งนั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้ก้าวทันต่อการเกิดดิจิทัลดิสรัปชั่น เพราะฉะนั้น ทางสถานศึกษาก็ต้องเร่งปรับตัวเช่นกัน”

        “ในฐานะที่ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น มีองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่จึงอยากนำความรู้ความชำนาญตรงนี้ไปถ่ายทอดให้ทางภาคการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมในทักษะจำเป็นเหล่านั้น ก่อนที่จะเริ่มทำงาน ซึ่งถ้าทำได้ ย่อมช่วยตอบโจทย์การ Upskill และ Reskill ที่กำลังเป็นเทรนด์การพัฒนาบุคลากรอยู่ในตอนนี้ เพราะทักษะที่คนมีอยู่แล้วในอดีต พัฒนาไม่พอต่อความต้องการในปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผลของการเกิด ดิจิทัลดิสรัปชั่น นั่นเอง”


คุณสุรีรัตน์ ผดุงศักดิ์วิริยะ วิศวกรการตลาดอาวุโส หัวหน้างานผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี Showcases และด้านการศึกษา แผนกการตลาด บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด


        แชร์ 3 Success cases การผสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับศักยภาพของเด็กไทย

        ต่อมา คุณสุรีรัตน์ ยังได้ยก 3 ตัวอย่าง สำหรับต้นแบบความสำเร็จที่เกิดจากการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา และสร้างผลลัพธ์เป็นการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติได้จริง

        “จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาคการศึกษาไทย ในการร่วมถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีด้านระบบออโตเมชั่น ที่ผ่านมา เรามี Success cases ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ตอบโจทย์การพัฒนาภาคการศึกษาไทยมากมาย เริ่มจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา โดยร่วมพัฒนาบุคลากรกับทาง คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC HDC ในการร่วมกันจัดตั้ง EEC Automation Park หรือ ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและกำลังคนด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์”

        “โดยทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ได้ร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานที่ร่วมสร้างหลักสูตร On the Job Training หรือ Technical Learning ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงยังมีส่วนไปวางระบบ Project based Learning ต่างๆให้ด้วย”

        “ทั้งนี้ ความร่วมมือกับทาง EEC Automation Park เราต้องการสร้าง Networks เป็น Education Training Networks ที่พร้อมต่อยอดการขยายความร่วมมือไปนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ให้ครอบคลุมไปทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็น เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันตก ภาคอีสาน ภาคเหนือ หรือ ภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาตินั่นเอง”

        “เพราะเราเล็งเห็นว่าในแต่ละภูมิภาคก็จะมีอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป สถานศึกษาในแต่ละภูมิภาคย่อมมีส่วนในการไปช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ แนวทางของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น จึงไม่ได้เจาะจงที่ภูมิภาคหรือพื้นที่ใดเป็นหลัก แต่เราตัดสินใจที่จะเริ่มต้นในเขตพื้นที่อีอีซีก่อน ด้วยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ในตอนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอีอีซี และยังมี EEC Automation Park ที่เป็นพันธมิตรในการพัฒนาร่วมกันไปด้วย”

        “ต่อมาทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ได้ช่วยพัฒนาทั้งหลักสูตรและสนับสนุนอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ที่ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. นอกจากนั้นยังมีการรับสมัครนักศึกษาฝึกงานเป็น Long term project โดยรับนักศึกษาในชั้นปีที่ 3 มาฝึกงานกับเรา จากนั้นก็ปรึกษากับอาจารย์ว่าถ้านักศึกษาคนใดที่เราเห็นว่ามีความสามารถ ก็จะดึงน้องเข้ามาทำ Project Based Learning ด้วยกัน เพื่อทำชุดสาธิตเป็น Showcase น้องๆ ก็จะได้ใช้ความรู้ที่ได้รับจากตอนฝึกงานมาปรับใช้กับการทำงานจริงและทำโปรเจกต์จบในตอนปี 4”

        “โดยโซลูชั่นที่ใช้ใน Project Based Learning ก็จะเป็นเทคโนโลยีของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เป็น SCARA Robot Pills Packing ร่วมกับ Tracking vision โดยสามารถสั่งงานผ่าน Web Application ซึ่งผลงานนี้ก็ได้นำไปโชว์ในงานระดับชาติ นั่นคือ งาน Manufacturing Expo ที่จัดขึ้นที่ไบเทคในวันที่ 21-24 มิถุนายน ที่ผ่านมานี้ด้วย”

        “ดังนั้น ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการร่วมกับทางสถาบันการศึกษา จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรให้เขามีทักษะ ความรู้ ความสามารถในระดับที่สามารถนำไปปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้จริง โดยในระหว่างที่น้องๆ มาร่วมโปรเจกต์กับเรา ก็จะมีทีมวิศวกรของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ร่วมสอนน้องๆ ในทาง Technical และนอกจากที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้ว น้องๆ ยังได้บ่มเพาะทักษะ Soft skill ด้วย อย่างการบริหารจัดการเวลา เพราะต้องคิดโปรเจ็กต์ที่จะไปโชว์ในงานที่จัดขึ้น ทำให้ต้องวางแผนเพื่อสร้างงานนั้นขึ้นมาให้ทันเวลา”

        “และ Success case สุดท้ายที่อยากจะแชร์ คือความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา อย่าง วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก หรือ อีเทค ที่จังหวัดชลบุรี โดยตรงนี้เราได้ทำ Training Network ที่นำหลักสูตรของการเรียนการสอนเบื้องต้นในด้าน PLC ให้กับนักศึกษาที่นี้ รวมถึงการร่วมมือสร้าง Building Automation Showcase ซึ่งเป็นอาคารเรียน ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ นักศึกษาได้ออกแบบระบบซอฟแวร์ ที่ใช้ SCADA Genesis 64 ในการบริหารจัดการอาคารเรียนนี้ด้วยตัวเอง เช่น ระบบการมอนิเตอร์การเปิดปิดไฟ ระบบการใช้พลังงานในอาคาร เป็นต้น”

        “ที่ผ่านมา เราได้รับฟีดแบกว่าทางอาจารย์และน้องๆเจ้าของโปรเจกต์ ก็จะมีความภาคภูมิใจและรู้สึกเป็นเจ้าของโปรเจกต์นี้ และได้เรียนรู้เรื่องการบำรุงรักษาระบบไปด้วย โดยจะมีทีมวิศวกรของทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาเวลาระบบมีปัญหา” คุณสุรีรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top